การบริหารความขัดแย้ง

การบริหารความขัดแย้ง

(Conflict management)

หลักการและเหตุผล

ความขัดแย้งเป็นเรื่องปกติในการทำงาน เพราะทุกคนต่างมีมุมมอง ความคิดเห็นที่ไม่เหมือนกัน โดยเฉพาะในองค์กรยุคใหม่ที่มีความหลากหลายของ Generation ก็ยิ่งทำให้มุมมอง ความคิด แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด จนนำไปสู่ความขัดแย้งภายในองค์กร แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าความขัดแย้งจะเป็นเรื่องไม่ดีเพราะผู้นำในหลายองค์กรสามารถบริหารความขัดแย้งได้อย่างสร้างสรรค์นำไปสู่การแข่งขันหรือสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาองค์กรให้ก้าวหน้ามากขึ้น

หลักสูตรนี้จึงถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อให้บุคลากร มีความเข้าใจในในเรื่องการบริหารความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ เพื่อเสริมศักยภาพของหัวหน้างานให้มีศักยภาพเพิ่มมากขึ้น ด้วยการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ : Training Workshop ผสมผสาน การอภิปราย ระดมความคิด วิเคราะห์ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากกรณีศึกษา และสถานการณ์จริงของผู้เข้าอบรม รวมไปถึงกิจกรรม Work Shop

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมเข้าใจถึงผลกระทบของความขัดแย้ง

2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมเข้าใจถึงสาเหตุของความขัดแย้งในองค์กร

3. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมเข้าใจถึงพฤติกรรมการแสดงออกในแต่ละแบบเมื่อต้องเผชิญความขัดแย้ง

4. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมค้นหาเครื่องมือในการบริหารความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์

5. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในองค์กร

หัวข้อการฝึกอบรม

1. ผลกระทบของความขัดแย้ง

    • นำไปสู่ความตึงเครียดในการทำงาน

   • ส่งผลต่อบรรยากาศการทำงาน

   • เกิดการแบ่งพรรคแบ่งพวก

   • ถูกแทรกแซงจากบุคคลที่สามได้ง่าย

   • มุ่งเอาชนะจนไม่สนผลกระทบที่มีต่อองค์กร

2. ที่มาของความขัดแย้ง

   • ความสัมพันธ์

   • ผลประโยชน์

   • ค่านิยม

   • ข้อมูล

   • โครงสร้าง

3. พฤติกรรมที่แสดงในความขัดแย้ง

   • การมุ่งเอาชนะ

   • ความร่วมมือ

   • การประนีประนอม

   • ยอมให้

   • หลีกเลี่ยง

4. เครื่องมือในการบริหารความขัดแย้ง

   • ความขัดแย้งที่เกิดจากความสัมพันธ์

   • ความขัดแย้งที่เกิดจากผลประโยชน์

   • ความขัดแย้งที่เกิดจากค่านิยม

   • ความขัดแย้งที่เกิดจากข้อมูล

   • ความขัดแย้งที่เกิดจากโครงสร้าง

5. คุณสมบัติของนักบริหารความขัดแย้ง

   • Ability ความสามารถ

   • Authority ผู้มีอำนาจ

   • Available Time เวลาว่าง

6. Work shop หรือกิจกรรมเกมบริหารความขัดแย้ง

ผู้เข้าฝึกอบรม

– พนักงาน

– หัวหน้างาน

– ผู้จัดการ

ระยะเวลาการฝึกอบรม:

1 วัน (6 ชั่วโมง)

จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม:

30 คน

วิธีการฝึกอบรม: บรรยาย 40% กิจกรรมการเรียนรู้ 60%

– เป็นการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ (Adult Learning) โดยผู้เรียนต้องเรียนรู้ด้วยตัวเอง และนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในแนวทางของตัวเอง

– กิจกรรมการเรียนรู้

– การบรรยาย-สาธิต

– ระดมสมอง – เกมประกอบหลักสูตร – กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์

– การแสดงบทบาทสมมติ

– วิทยากรทำหน้าที่เพียงผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ (Facilitator) ทำให้การพัฒนาเป็นไปตามธรรมชาติของผู้เรียนรู้นั้น ๆ

วิธีการประเมินผล

– จากแบบสอบถามและการสังเกต

– จากการสุ่มตัวอย่างทดสอบและทบทวนกลับ

– จากข้อมูลที่ได้รับและการติดตาม วิเคราะห์ประเมินผลจากนามธรรมสู่รูปธรรมจนเกิดประสิทธิผลสูงสุด

ติดต่อสอบถาม

โทร.: 08 9177 1345 (พัชรี)

โทร.: 08 9448 8767 (วฤทธิ์)

อีเมล์: contact@gttc.co.th