จิตวิทยาการบริหารและบังคับบัญชา

จิตวิทยาการบริหารและบังคับบัญชา

(Administrative and supervisory psychology)

หลักการและเหตุผล

ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญที่ช่วยผลักดันให้บุคคลทำงาน หรือสร้างความ สำเร็จนั้น เริ่มมาจากแรงจูงใจ (MOTIVATION) ทำไมบางคนทำงานหรือทำ กิจกรรมได้อย่างมีพลัง มีชีวิตชีวา ตั้งอกตั้งใจ ขยันขันแข็งมีความกระตือรือร้น บางคนไม่อยากทำงาน ทำงานอย่างไม่ตั้งใจ ไม่สามารถสร้างผลงานที่ดีออกมา ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ หัวหน้างานจําเป็นต้องมีจิตวิทยาในการบริหารและบังคับบัญชาลูกน้อง เพื่อเป็นประโยชน์ในการปรับพฤติกรรม โดยเริ่มต้นจาก ตนเอง และใช้เทคนิคการสร้างแรงจูงใจนี้ในการบริหาร ตามคํากล่าวที่ว่า “งานก็ได้ผล คนก็เป็นสุข”

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถเรียนรู้ เข้าใจ ทฤษฎี และหลักการสร้างแรงใจตามหลักการด้านจิตวิทยา

2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมเรียนรู้เทคนิคและรูปแบบของการสร้างแรงจูงใจ

3. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำหลักการสร้างแรงจูงใจไปใช้ในการทำงานและชีวิตประจำวันได้

4. ทำงานและชีวิตประจำวันได้

หัวข้อการฝึกอบรม

1. Lesson 1: ความสำคัญของจิตวิทยากับการบริหาร

2. Lesson 2: อารมณ์พฤติกรรม และการเสริมแรง (reinforcement)

3. Lesson 3: การสร้างแรงจูงใจคืออะไร? มีความสำคัญต่อชีวิตและการ ทำงานอย่างไร?

4. Lesson 3: ทฤษฎีและหลักการสร้างแรงจูงใจตามหลักการด้านจิตวิทยา

5. Lesson 4: การนำเทคนิคการสร้างแรงจูงใจนำทฤษฎีสู่ชีวิตประจำวันและ การทำงาน

6. Lesson 5: กิจกรรม work shop เทคนิคการสร้างแรงจูงใจ

ผู้เข้าฝึกอบรม

– พนักงาน

– หัวหน้างาน

– ผู้จัดการ

ระยะเวลาการฝึกอบรม:

1 วัน (6 ชั่วโมง)

จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม:

30 คน

วิธีการฝึกอบรม: บรรยาย 40% กิจกรรมการเรียนรู้ 60%

– เป็นการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ (Adult Learning) โดยผู้เรียนต้องเรียนรู้ด้วยตัวเอง และนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในแนวทางของตัวเอง

– กิจกรรมการเรียนรู้

– การบรรยาย-สาธิต

– ระดมสมอง – เกมประกอบหลักสูตร – กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์

– การแสดงบทบาทสมมติ

– วิทยากรทำหน้าที่เพียงผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ (Facilitator) ทำให้การพัฒนาเป็นไปตามธรรมชาติของผู้เรียนรู้นั้น ๆ

วิธีการประเมินผล

– จากแบบสอบถามและการสังเกต

– จากการสุ่มตัวอย่างทดสอบและทบทวนกลับ

– จากข้อมูลที่ได้รับและการติดตาม วิเคราะห์ประเมินผลจากนามธรรมสู่รูปธรรมจนเกิดประสิทธิผลสูงสุด

ติดต่อสอบถาม

โทร.: 08 9177 1345 (พัชรี)

โทร.: 08 9448 8767 (วฤทธิ์)

อีเมล์: contact@gttc.co.th