มาตรฐานควบคุมดูแลความปลอดภัยในทุกกระบวนการผลิตอาหาร HACCP

มาตรฐานควบคุมดูแลความปลอดภัยในทุกกระบวนการผลิตอาหาร HACCP

(Safety Supervision Standards for All Food Production Processes HACCP)

หลักการและเหตุผล

หลักสูตร “HACCP” หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร และระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤติที่ต้องควบคุม เป็นหลักสูตรที่มีความสำคัญยิ่งในการสร้างความเข้าใจถึงหลักเกณฑ์และข้อกำหนดของระบบที่ผู้ประกอบการด้านอาหารจำเป็นต้องเรียนรู้ ทำความเข้าใจและสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เพื่อให้เกิดความมั่นใจในความปลอดภัยด้านอาหารต่อผู้บริโภค โดยเน้นการป้องกันมากกว่าการแก้ไข โดยยึดหลักการและแนวปฏิบัติ 12 ขั้นตอน เพื่อให้มั่นใจว่ากระบวนการผลิตอาหารจะปราศจากอันตราย ทั้งจากเชื้อจุลินทรีย์ สารเคมี และสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้บริโภค และยังสอดคล้องกับมาตรฐานสากลตามข้อกำหนดของ Codex อีกด้วย

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้เกิดความเข้าใจหลักการของระบบ GHP หลักเกณฑ์ แนวทางปฏิบัติ และวิธีการที่ดีในการผลิตอาหารแก่ผู้เกี่ยวข้องในกระบวนการผลิตและผู้ควบคุมการผลิตอย่างเป็นระบบ โดยมุ่งเน้นในการลด ขจัดความเสี่ยงต่าง ๆ ในทุก ๆ ด้าน

2. เพื่อให้เกิดความเข้าใจหลักการของระบบ HACCP ระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤติที่ต้องควบคุม ทั้ง 12 ขั้นตอนอย่างถูกต้องครบถ้วน สามารถดำเนินการในแต่ละขั้นตอนอย่างมีประสิทธิภาพ

3. เพื่อเป็นการส่งเสริมและยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมอาหารของไทยให้ทัดเทียมระดับสากล ด้วยการเสริมสร้างความรู้ความสามารถและทักษะให้กับบุคลากรในวงการอุตสาหกรรมอาหารให้ตระหนักถึงความปลอดภัยด้านอาหารและสามารถต่อยอดให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

หัวข้อการฝึกอบรม

ประเภทและชนิดของอันตรายในอุตสาหกรรมอาหาร

    · อันตรายทางชีวภาพ Biological Hazard

   · อันตรายจากสารเคมี Chemical Hazard

   · อันตรายทางกายภาพ Physical Hazard

GHP & HACCP ความสัมพันธ์และความแตกต่าง

   · หลักการและแนวปฏิบัติของ GHP

   · หลักการและแนวปฏิบัติของระบบ HACCP

   · ความเชื่อมโยงและความสัมพันธ์ของระบบ GHP & HACCP

   · ประโยชน์ที่อุตสาหกรรมอาหารไทยจะได้รับจากระบบ GHP & HACCP

หลักการของ HACCP

   · HACCP คืออะไร, ความเป็นมาของระบบ HACCP

   · วัตถุประสงค์หลักของการประยุกต์ใช้ระบบ HACCP

   · ประโยชน์ที่ได้รับจากการประยุกต์ใช้ระบบ HACCP

หลักการ 12 ขั้นตอน ของระบบ HACCP

   · การจัดตั้ง HACCP ทีม

   · การจัดทำรายละเอียดผลิตภัณฑ์ Describe Product

   · การชี้บ่งวัตถุประสงค์การใช้ผลิตภัณฑ์ Identify Intended Use

   · การจัดทำแผนภูมิกระบวนการผลิต Flow Diagram

   · การทวนสอบความถูกต้องของแผนภูมิกระบวนการผลิต Verification

   · การวิเคราะห์อันตราย Conduct a Hazard Analysis

   · การหาจุดวิกฤติที่ต้องควบคุม Identify Critical Control Points

   · การกำหนดค่าวิกฤติ Critical Limits

   · การกำหนดระบบเพื่อตรวจติดตามการควบคุมจุดวิกฤติที่ต้องควบคุม

   · การกำหนดวิธีการแก้ไขเมื่อตรวจพบว่าจุดวิกฤติที่ต้องควบคุมไม่อยู่ภายใต้การควบคุม

   · การทวนสอบเพื่อยืนยันประสิทธิภาพของระบบ HACCP

   · การจัดเก็บเอกสารที่เกี่ยวข้องวิธีปฏิบัติและบันทึกของระบบ HACCP

ผู้เข้าฝึกอบรม

1. เจ้าของบริษัทผู้ผลิตอาหาร และผู้บริหารในธุรกิจผลิตอาหาร ได้แก่ ผู้จัดการโรงงาน, ผู้จัดการฝ่าย, ผู้จัดการแผนกที่รับผิดชอบเรื่องการผลิตอาหารให้เกิดความปลอดภัย

2. หัวหน้างาน พนักงาน เจ้าหน้าที่ที่ทำงานและดูแลด้านระบบความปลอดภัยของอาหารทั้งระบบ GHP, HACCP และ ISO 22000

1. ผู้ปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมอาหาร ผู้ประกอบการที่เกี่ยวกับอาหารทั้งนำเข้าส่งออก ผู้ที่อยู่ในวงการอาหาร ผู้บริโภคที่สนใจในระบบคุณภาพด้านความปลอดภัยอาหาร

ระยะเวลาการฝึกอบรม:

1 วัน (6 ชั่วโมง)

จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม:เวลา:

30 คน

วิธีการฝึกอบรม: บรรยาย 40% กิจกรรมการเรียนรู้ 60%

– เป็นการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ (Adult Learning) โดยผู้เรียนต้องเรียนรู้ด้วยตัวเอง และนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในแนวทางของตัวเอง

– กิจกรรมการเรียนรู้

– การบรรยาย-สาธิต

– ระดมสมอง – เกมประกอบหลักสูตร – กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์

– การแสดงบทบาทสมมติ

– วิทยากรทำหน้าที่เพียงผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ (Facilitator) ทำให้การพัฒนาเป็นไปตามธรรมชาติของผู้เรียนรู้นั้น ๆ

วิธีการประเมินผล

– จากแบบสอบถามและการสังเกต

– จากการสุ่มตัวอย่างทดสอบและทบทวนกลับ

– จากข้อมูลที่ได้รับและการติดตาม วิเคราะห์ประเมินผลจากนามธรรมสู่รูปธรรมจนเกิดประสิทธิผลสูงสุด

ติดต่อสอบถาม

โทร.: 08 9177 1345 (พัชรี)

โทร.: 08 9448 8767 (วฤทธิ์)

อีเมล์: contact@gttc.co.th