จิตสำนึกในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม

(Energy and Environmental Conservation Awareness)

หลักการและเหตุผล

การขยายตัวทางเศรษฐกิจและความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี (Economic Growth & Technological Progress) การขยายตัวทางเศรษฐกิจทําให้มาตรฐานในการดํารงชีวิตสูงตามไปด้วย มี การบริโภคทรัพยากรธรรมชาติเกินความจําเป็นขั้นพื้นฐานของชีวิต จึงจําเป็นต้องใช้พลังงานมาก ขึ้นตามไปด้วย ในขณะเดียวกันความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี ก็ช่วยเสริมให้การนําทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ทําได้ง่ายขึ้นและมากขึ้น นอกจากนี้การเพิ่มของประชากรอย่างรวดเร็ว มีผลให้เกิดปัญหาขาดแคลนอาหาร ที่อยู่อาศัย การสาธารณสุข การศึกษา การว่างงาน ฯลฯ ทำให้ต้องเร่งการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรกรรมและการ อุตสาหกรรมให้มากยิ่งขึ้น

จากการเร่งการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรและอุตสาหกรรมส่งผลให้ประเทศไทยในปัจุบันมีการใช้พลังงานอย่างต่อเนื่อง โดยพลังงานที่นำมาใช้มีทั้งจากในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ โดยสภาวะการขาดแคลนพลังงานของโลกในอนาคตอาจดูเป็นเรื่องไกลตัวเรา แต่ในความเป็นจริงพลังงานต่างๆที่ได้จากเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ ซึ่งเราใช้อยู่อาจหมดไปในภายในระยะเวลาไม่กี่ปีข้างหน้า ดังนั้นเพื่อบริหารจัดการปัญหาดังกล่าวหน่วยงานภาครัฐจึงได้ออกฎหมายกฎบังคับใช้ เรื่องการดำเนินการอนุรักษ์พลังงานตามกฎหมาย การอนุรักษ์พลังงานภายใต้พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ.๒๕๓๕ (และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.๒๕๕๐) สำหรับโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม

ดังนั้นเพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้รับความรู้ความเข้าใจในการจัดการปัญหาด้านพลังงานและการใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงเพื่อให้สอดคล้องตามที่กฎหมายกำหนด กิจการหรือสถานประกอบการควรดำเนินการจัดฝึกอบรม หลักสูตร จิตสำนึกการอนุรักษ์พลังงานในองค์กร (Energy Conservation Awareness) ให้กับลูกจ้างที่เกี่ยวข้อง องค์กรใดก็ตามที่พนักงานทุกคนมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์พลังงาน องค์กรนั้นจะเกิดการอนุรักษ์และใช้พลังงานได้เกิดประโยชน์สูงสุดและต่อเนื่องยั่งยืน ดังนั้นการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “จิตสำนึกในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม” จะเป็นการฝึกอบรมที่ให้พนักงานตระหนักถึงคุณค่าของพลังงานและผลกระทบจากการใช้พลังงานที่มีต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงขั้นตอนวิธีการในการสร้างจิตสำนึกอย่างเป็นระบบและง่ายในการนำไปใช้ กรณีตัวอย่าง วิดีโอกรณีศึกษา และกิจกรรมต่างๆ ที่ประสบความสำเร็จในการอนุรักษ์พลังงาน รวมทั้งการระดมสมองในการจัดทำแผนรณรงค์ประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างจิตสำนึกให้เกิดขึ้นแก่องค์ได้

วัตถุประสงค์

1. เพื่อสร้างให้เกิดวัฒนธรรมการทำงานด้วยจิตสำนึกที่ดี ลดของเสีย และเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน

2. เพื่อสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ

3. เพื่อเสริมสร้างแนวคิดการป้องกัน การวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาด้านพลังงานอย่างเป็นมีรูปแบบ

4. เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาหน่วยงานและองค์กรอย่างต่อเนื่อง

5. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความเข้าใจต่อผลกระทบของการใช้พลังงานและสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันได้อย่างถูกต้อง

6. เพื่อสร้างการทำงานเป็นทีม การยอมรับในความเห็นที่แตกต่าง เกิดความสามัคคี

7. เพื่อสร้างแรงจูงใจในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมให้กับผู้เข้ารับการอบรม

หัวข้อการฝึกอบรม

1. พลังงานและพลังงานทดแทน

 – แหล่งที่มาของพลังงาน

 – พลังงานสำคัญอย่างไร

 – การคำนวณการใช้พลังงานในสำนักงาน

 – การใช้พลังงานของโลกและประเทศไทยในปัจจุบัน

 – พลังงานทดแทนในอนาคต

 – จิตสำนึกและกิจกรรมการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พลังงาน

2. ผลกระทบจากการใช้พลังงานต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม

 – ภาวะโลกร้อน ที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อม

 – ผลกระทบจากการใช้พลังงานและการเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

 – ผลกระทบด้านสภาวะอากาศของโลกและสิ่งแวดล้อม

 – ปัญหาของกิจกรรมอนุรักษ์พลังงานในองค์กร

 – ทัศนะคติเดิมๆที่ไม่ช่วยกันอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม

3. จิตสำนึกการอนุรักษ์พลังงานการอนุรักษ์พลังงานในระบบต่างๆ

 – ระบบแสงสว่าง

 – ระบบการปรับอากาศ

 – ระบบการอัดอากาศ

 – ระบบมอเตอร์

 – การอนุรักษ์พลังงานในสำนักงาน

 – อุปกรณ์ในสำนักงานต่างๆ

4. แนวทางประหยัดหยัดพลังงาน

5. ตัวอย่างการลดการใช้พลังงานในสำนักงาน

Workshop / กรณีศึกษา

     Workshop 1 : การทำงานเป็นทีม

     Workshop 2 : ค้นหาเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินมากที่สุดในโรงงาน

     Workshop 3 : ออกแบบการประหยัดพลังงานในหน่วยงาน

     Workshop 4 : ฝึกการแก้ไขปัญหา

ผู้เข้าฝึกอบรม

– พนักงาน

– หัวหน้างาน

– ผู้จัดการ

ระยะเวลาการฝึกอบรม:

1 วัน (6 ชั่วโมง)

จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม:

30 คน

วิธีการฝึกอบรม: บรรยาย 40% กิจกรรมการเรียนรู้ 60%

– เป็นการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ (Adult Learning) โดยผู้เรียนต้องเรียนรู้ด้วยตัวเอง และนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในแนวทางของตัวเอง

– กิจกรรมการเรียนรู้

– การบรรยาย-สาธิต

– ระดมสมอง – เกมประกอบหลักสูตร – กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์

– การแสดงบทบาทสมมติ

– วิทยากรทำหน้าที่เพียงผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ (Facilitator) ทำให้การพัฒนาเป็นไปตามธรรมชาติของผู้เรียนรู้นั้น ๆ

วิธีการประเมินผล

– จากแบบสอบถามและการสังเกต

– จากการสุ่มตัวอย่างทดสอบและทบทวนกลับ

– จากข้อมูลที่ได้รับและการติดตาม วิเคราะห์ประเมินผลจากนามธรรมสู่รูปธรรมจนเกิดประสิทธิผลสูงสุด

ติดต่อสอบถาม

โทร.: 08 9177 1345 (พัชรี)

โทร.: 08 9448 8767 (วฤทธิ์)

อีเมล์: contact@gttc.co.th