การประเมินผลการปฏิบัติงานแบบเชื่อมใจคนและได้ผลงาน

การประเมินผลการปฏิบัติงาน: แบบเชื่อมใจคนและได้ผลงาน

(Performance Assessment: Connect and utilize People)

หลักการและเหตุผล

ความสำเร็จขององค์กรที่เติบโตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนไม่เพียงแค่การมีทิศทางและกลยุทธ์การจัดการที่ดีเท่านั้น แต่ผู้บริหารจะต้องสามารถบริหารทรัพยากรมนุษย์ให้เป็น ซึ่งคำว่า “เป็น” ในที่นี้ไม่ได้หมายถึง การรีดเอาผลงานให้ได้มาก แต่กลับเป็นเรื่องของการสร้างความชัดเจนในเป้าหมายการทำงานให้กับพนักงาน การจูงใจ การสอนงาน การประเมินผลงาน และให้ค่าตอบแทนที่เป็นธรรม

จากกระบวนการที่กล่าวมาข้างด้น หัวใจสำคัญของระบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ คือ “การรู้จักพนักงานของตนเองให้มากที่สุด” เพราะหากรู้ให้มากแล้ว เรื่องอื่น ๆ ก็ดูเหมือนจะง่ายเสียเหลือเกิน เช่น เมื่อรู้ว่าลูกน้องของตนเก่งในเรื่องใด ก็ย่อมที่จะสามารถมอบหมายภารกิจสำคัญได้อย่างง่ายดาย ต่อมาก็สามารถจูงใจให้ทำผลงานได้เพิ่มมากขึ้น หรือจะรักษาให้อยู่กับองค์กรได้อย่างยาวนาน ทั้งหมดล้วนมีที่มาจากคำเดียวกัน คือ การเข้าใจพนักงานของตนเอง ซึ่งวิธีที่จะทำให้ผู้บริหารเข้าใจลูกน้องของตนเองได้อย่างดี ก็คือ การใช้เครื่องมือที่เรียกว่า “การประเมินผลการปฏิบัติงาน”

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดและหลักการการประเมินผลงานในรูปแบบต่าง ๆ

2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำแนวคิดและหลักการเกี่ยวกับการประเมินผลงานไปประยุกต์ใช้กับการบริหารผู้ใต้บังคับบัญชาของตนเองได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับวัฒนธรรมการทำงานขององค์กร

3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจถึงเทคนิคการประเมินผลการปฏิบัติงาน และสามารถป้องกันปัญหาจากการใช้เครื่องมือที่ไม่ลูกต้อง ซึ่งจะทำให้การประเมินผลการปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

หัวข้อการฝึกอบรม

1. ปูพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับหลักการประเมินผลการปฏิบัติงาน

    • นิยาม ความหมาย ความจำเป็นที่ต้องมีการประเมินผลการปฏิบัติงาน

   • วิวัฒนาการของการประเมินผลงาน

   • เครื่องมือการประเมินผลการปฏิบัติงานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน: ข้อดี ข้อเสีย และการเปลี่ยนแปลง

   • วิธีการตั้งเป้าหมาย

   • การวัดผลงาน และพฤติกรรมการทำงาน

2. รูปแบบของระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปี

   • เทคนิคการกำหนดปัจจัยและนํ้าหนักที่จะไชในการ ประเมินผลการปฏิบัติงาน

   • วิธีการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือด้วยหลักการ SMART

   • เทคนิคการกำหนดผู้ประเมินและรอบการประเมิน

   • เทคนิคการติดตามผลและการสอนงาน

   • เทคนิคการแจ้งผลการปฏิบัติงานประจำปี

3. ทดลองออกแบบเครื่องมือ

   • การนำผลการประเมินไปใช้ประโยชน์

   • การนำไปเชื่อมโยงกับการพัฒนาบุคลากร

   • การนำไปเชื่อมโยงกับการขึ้นเงินเดือนและจ่ายโบนัส

   • การนำไปเชื่อมโยงกับการเลื่อนตำแหน่ง

   • การนำไปเชื่อมโยงกับการรักษาบุคลากร

   • การนำไปเชื่อมโยงกับการลงโทษและให้ออกจากงาน

4. สรุปบทเรียน ทบทวนวิธีการจัดทำ และให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมต่อการนำไปใช้ประโยชน์ เพื่อให้เกิดความชัดเจนและถูกต้องสูงสุด

ผู้เข้าฝึกอบรม

– พนักงาน

– หัวหน้างาน

– ผู้จัดการ

ระยะเวลาการฝึกอบรม:

1 วัน (6 ชั่วโมง)

จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม:เวลา:

30 คน

วิธีการฝึกอบรม: บรรยาย 40% กิจกรรมการเรียนรู้ 60%

– เป็นการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ (Adult Learning) โดยผู้เรียนต้องเรียนรู้ด้วยตัวเอง และนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในแนวทางของตัวเอง

– กิจกรรมการเรียนรู้

– การบรรยาย-สาธิต

– ระดมสมอง – เกมประกอบหลักสูตร – กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์

– การแสดงบทบาทสมมติ

– วิทยากรทำหน้าที่เพียงผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ (Facilitator) ทำให้การพัฒนาเป็นไปตามธรรมชาติของผู้เรียนรู้นั้น ๆ

วิธีการประเมินผล

– จากแบบสอบถามและการสังเกต

– จากการสุ่มตัวอย่างทดสอบและทบทวนกลับ

– จากข้อมูลที่ได้รับและการติดตาม วิเคราะห์ประเมินผลจากนามธรรมสู่รูปธรรมจนเกิดประสิทธิผลสูงสุด

ติดต่อสอบถาม

โทร.: 08 9177 1345 (พัชรี)

โทร.: 08 9448 8767 (วฤทธิ์)

อีเมล์: contact@gttc.co.th