การส่งเสริมจิตบริการในการทำงานเป็นทีม

(Services Mind & Teamwork Training Workshop)

หลักการและเหตุผล

จากความหมายของการบริการที่ผู้รู้ได้กล่าวไว้ว่า “งานบริการหมายถึงการที่บุคคลได้ช่วยเหลือดูแลผู้อื่นและสังคมด้วยกำลังแรงกายและสติปัญญาเพื่อให้เกิดประโยชน์ ความสุข และนำมาซึ่งความถึงพอใจของลูกค้า ซึ่งลูกค้าก็คือบุคคลซึ่งได้รับประโยชน์ ความสุข ความพึงพอใจจากผู้ให้บริการนั่นเอง ดังนั้นในองค์กรที่ประกอบกิจการใดก็ตามที่เกี่ยวข้องกับงานบริการ จำเป็นต้องมีการฝึกพัฒนาพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถ ทักษะและทัศนคติที่ดีต่อการปฏิบัติงาน โดยเฉพาะการส่งเสริมทักษะความรู้เรื่องจิตบริการและการทำงานเป็นทีม เพราะจิตบริการเป็นพื้นฐานที่สำคัญ เนื่องจากการกระทำหรือพฤติกรรมของคนเรา รวมทั้งเรื่องของการสื่อสารและบุคลิกภาพ ไม่ว่าจะเป็นในด้านของผู้ให้บริการหรือผู้รับบริการล้วนเกิดมาจากความคิดอันได้แก่จิตใจ ซึ่งก็เป็นเรื่องของทัศนคติที่เกิดจากจากการสั่งสมของข้อมูล ประสบการณ์และความรู้ที่ตนเองได้รับ

แต่ถึงอย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเป็นจิตบริการเชิงลบหรือจิตบริการเชิงบวกย่อมส่งผลความสำเร็จต่อบุคลากรและองค์กรทั้งสิ้น อย่างไรก็ตามในการใช้กลยุทธ์ขับเคลื่อนองค์กรไปสู่เป้าหมายนั้น บุคลากรในองค์กรจำเป็นต้องมีจิตบริการหรือพฤติกรรมเชิงบวก มีบุคลิกภาพที่ดีงาม เพราะพฤติกรรมเชิงบวกหรือจิตบริการเชิงบวกและบุคลิกภาพที่ดีงามอย่างมืออาชีพนั้น ย่อมเป็นปัจจัยที่สามารถช่วยส่งเสริมและเพิ่มประสิทธิภาพในงานทำงานเป็นทีมได้เป็นอย่างดี

ด้วยหลักการและเหตุผลดังกล่าวข้างต้น การจัดการอบรมส่งเสริมให้บุคลากรมีจิตบริการในการทำงานเป็นทีม ย่อมเป็นเครื่องมือที่ทรงพลังที่จะทำให้องค์กรก้าวหน้า เป็นประโยชน์กับกิจการขององค์กรเพราะบุคลากรที่ผ่านการอบรมจะมีจิตบริการที่ดี มีทัศนคติเชิงบวก มีจิตใจที่เต็มเปี่ยมไปด้วยพลังอย่างแท้จริง ผ่านทางการแสดงออกด้วย การสื่อสารที่เป็นมิตร มีน้ำเสียงมีกิริยาท่าทางรอยยิ้ม มีความเข้าใจ เห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน มีส่วนร่วมในความรับผิดชอบต่อตนเองและทีมงาน ตลอดจนสามารถนำทีมและองค์กรก้าวไปสู่ความสำเร็จได้อย่างสง่างาม

วัตถุประสงค์

1. เพื่อส่งเสริมให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ทักษะการบริการ มีความสามัคคี สร้างความประทับให้ลูกค้า

2. เพื่อสร้างสรรค์ให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ตระหนักถึงคุณค่าที่แท้จริงของการมีจิตบริการที่ทรงประสิทธิภาพ สามารถฝึกฝน พัฒนาจิตบริการในการทำงานเป็นทีม จนบรรลุวัตถุประสงค์ตรงตามเป้าหมายขององค์กร

3. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับประยุกต์ใช้ในงานและในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม

4. เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำงานเป็นทีมที่ดี และมีความก้าวหน้าในการส่งมอบการบริการด้วยความรักความสามัคคี ความเข้าใจที่ถูกต้อง มีบุคลิกภาพที่น่าประทับใจให้กับลูกค้าทั้งภายในและภายนอกองค์กร

5. เพื่อเป็นการสนับสนุนพันธกิจหลักขององค์กร ตลอดจนเป็นการเพิ่มชื่อเสียงให้กับองค์กร ให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายสืบต่อไป

หัวข้อการฝึกอบรม

1. การปรับและสร้างพื้นฐานความเข้าใจเกี่ยวกับจิตบริการในการทำงานเป็นทีม

  – เป็นผู้อยู่เบื้องหลังแห่งความสำเร็จ

  – เป็นผู้เสียสละเพื่อส่วนรวม

  – เป็นผู้ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ

  – เป็นผู้รักษาไว้ซึ่งมาตรฐานขององค์กร

  – เป็นผู้ให้ที่ยิ่งใหญ่ในองค์กรของเรา

2. จิตบริการกับวัฒนธรรมองค์กร,JOB VALUE

  – เริ่มจากต้องพัฒนาตน รู้หน้าที่ ทำหน้าที่

  – การช่วยผู้อื่นตามกำลัง ความสามารถและประสบการณ์

  – การทำสิ่งดีงามให้ตนเอง ครอบครัวที่ทำงาน สังคมและประเทศชาติ

  – JOB VALUEและการส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กรให้ยั่งยืน

  – การพัฒนาศักยภาพส่วนบุคคลจากภายในสู่ภายนอก

  – หลักการหมั่นศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ อย่างต่อเนื่อง จริงจัง

3. ความหมายของจิตบริการ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต้องทำและเริ่มอย่างไร

  – ความหมายของการจิตบริการ

  – การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ทำและเริ่มอย่างไร

4. 3 H สู่ความเป็นมืออาชีพจิตบริการในการทำงานเป็นทีม

  – HEAD

  – HEART

  – HAND

5. 7 หัวใจหลักเพื่อเสริมสร้างจิตบริการในการทำงานเป็นทีม

  – เข้าใจ ภูมิใจ เปิดใจ ได้ใจ ใส่ใจ ร่วมใจ สุขใจ

6. เทคนิคการเสริมสร้างจิตบริการในการทำงานเป็นทีม

  – เทคนิค 101 คิดดี พูดดี ทำดี

  – เทคนิค 8 ย เมื่อต้องทำงานกับคนหมู่มาก

  – เทคนิค 3 R กับการสร้างความสัมพันธ์ที่งดงาม

  – เทคนิค 3 ช เพื่อสร้างความร่วมมือในทีมตลอดไป

ผู้เข้าฝึกอบรม

– พนักงาน

– หัวหน้างาน

– ผู้จัดการ

ระยะเวลาการฝึกอบรม:

1 วัน (6 ชั่วโมง)

จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม:

30 คน

วิธีการฝึกอบรม: บรรยาย 30% กิจกรรมการเรียนรู้ 70%

– เป็นการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ (Adult Learning) โดยผู้เรียนต้องเรียนรู้ด้วยตัวเอง และนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในแนวทางของตัวเอง

– กิจกรรมการเรียนรู้

– การบรรยาย-สาธิต

– ระดมสมอง – เกมประกอบหลักสูตร – กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์

– การแสดงบทบาทสมมติ

– วิทยากรทำหน้าที่เพียงผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ (Facilitator) ทำให้การพัฒนาเป็นไปตามธรรมชาติของผู้เรียนรู้นั้น ๆ

วิธีการประเมินผล

– จากแบบสอบถามและการสังเกต

– จากการสุ่มตัวอย่างทดสอบและทบทวนกลับ

– จากข้อมูลที่ได้รับและการติดตาม วิเคราะห์ประเมินผลจากนามธรรมสู่รูปธรรมจนเกิดประสิทธิผลสูงสุด

ติดต่อสอบถาม

โทร.: 08 9177 1345 (พัชรี)

โทร.: 08 9448 8767 (วฤทธิ์)

อีเมล์: contact@gttc.co.th