การส่งเสริมทักษะและความรู้พื้นฐานสำหรับพนักงานใหม่ แผนกแม่บ้าน

การส่งเสริมทักษะและความรู้พื้นฐานสำหรับพนักงานใหม่ แผนกแม่บ้าน

(Basic Skills and Knowledge for New Employees in the Housekeeping Department)

หลักการและเหตุผล

มื่อกล่าวผู้ที่อยู่เบื้องหลังและช่วยอำนวยความสะดวกตลอดจนการดูแลรักษาความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของแต่ละองค์กร โดยเฉพาะองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการลูกค้าด้วยแล้ว แผนกแม่บ้านถือได้ว่าเป็นส่วนสำคัญที่สามารถช่วยให้แต่ละองค์กรประสบความสำเร็จได้อย่างงดงาม

ดังนั้น การส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องร่วมทั้งการให้ความสำคัญในทุกขั้นตอนของขบวนการทำงานของบุคลากรแผนกแม่บ้าน ตั้งแต่การคัดเลือกบุคลากรให้ได้ตามคุณสมบัติและการที่พนักงานใหม่เริ่มเข้ามาทำงาน จึงเป็นกลยุทธ์เริ่มต้นที่สำคัญและควรตระหนักเพื่อช่วยรักษามาตรฐานงานแม่บ้าน อันจะส่งผลให้องค์กรมีชื่อเสียงเป็นที่รู้เพิ่มมากขึ้นสืบต่อไป

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้รับองค์ความรู้และเสริมสร้างทักษะในงานแม่บ้านที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกตรงตรงตามมาตรฐานสากล

2. เพื่อยกระดับและส่งเสริมคุณค่า ความสำคัญของงานแม่บ้านที่มีต่อส่วนรวม

3. เพื่อเป็นการส่งเสริมและสร้างชื่อเสียงให้กับองค์กรสืบต่อไป

4. เพื่อปลูกจิตสำนึกในด้านสุขาภิบาลและสุขอนามัย

5. เพื่อพัฒนาคุณภาพงานบริการแม่บ้าน

หัวข้อการฝึกอบรม

1. คุณค่าและความสำคัญของงานแม่บ้านกับพันธกิจหลักขององค์กร

2. ระบบคุณภาพกับงานบริการด้านแม่บ้าน

3. หลักการขั้นพื้นฐานของงานแม่บ้านที่ควรรู้

4. วัสดุ อุปกรณ์งานแม่บ้านและวิธีการใช้งาน

5. สุขลักษณะที่ควรตระหนักในงานแม่บ้าน

6. บุคลิกภาพการสื่อสารแม่บ้านยุค 4.0

7. เคล็ดลับการสร้างงานแม่บ้านให้ประสบความสำเร็จ

ผู้เข้าฝึกอบรม

– พนักงาน

– หัวหน้างาน

– ผู้จัดการ

ระยะเวลาการฝึกอบรม:

1 วัน (6 ชั่วโมง)

จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม:

30 คน

วิธีการฝึกอบรม: บรรยาย 40% กิจกรรมการเรียนรู้ 60%

– เป็นการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ (Adult Learning) โดยผู้เรียนต้องเรียนรู้ด้วยตัวเอง และนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในแนวทางของตัวเอง

– กิจกรรมการเรียนรู้

– การบรรยาย-สาธิต

– ระดมสมอง – เกมประกอบหลักสูตร – กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์

– การแสดงบทบาทสมมติ

– วิทยากรทำหน้าที่เพียงผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ (Facilitator) ทำให้การพัฒนาเป็นไปตามธรรมชาติของผู้เรียนรู้นั้น ๆ

วิธีการประเมินผล

– จากแบบสอบถามและการสังเกต

– จากการสุ่มตัวอย่างทดสอบและทบทวนกลับ

– จากข้อมูลที่ได้รับและการติดตาม วิเคราะห์ประเมินผลจากนามธรรมสู่รูปธรรมจนเกิดประสิทธิผลสูงสุด

ติดต่อสอบถาม

โทร.: 08 9177 1345 (พัชรี)

โทร.: 08 9448 8767 (วฤทธิ์)

อีเมล์: contact@gttc.co.th