Mind Map for Systematic Thinking
หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล

Mind Map เป็น เครื่องมือด้านความคิดที่ออกแบบโดยเลียนแบบการทำงานของสมอง ซึ่งเป็นการแสดงผลของ “ภาษาของสมอง” เป็นวิธีเดียวกับที่สมองคิด ใช้ได้ทั้งการนำข้อมูลเข้า (จดบันทึก) และออกจากสมอง (ระดมสมอง แสดงความคิด) ดังนั้นการเข้าใจหลักการทำงานของสมอง รวมทั้งการคิดอย่างเป็นระบบ เมื่อนำมาประยุกต์เข้ากับเครื่องมือ Mind Map ทำให้เกิดเครื่องมือที่ง่ายและสะดวกต่อการแปลความคิดที่อยู่ในสมองออกมาเป็นสิ่งที่สามารถมองเห็นและเข้าใจได้ง่ายขึ้น

การเขียน Mind Map เพื่อประยุกต์ใช้กับการทำงาน หรือการดำเนินชีวิตด้านต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพผู้เขียนควรเข้าใจหลักการคิดต่างๆที่เกี่ยวข้องได้แก่

การคิดเชิงตรรกะ….เพื่อสร้างมุมมองที่เป็นเชิงเหตุผล เกี่ยวข้อง เชื่อมโยง

การคิดเชิงสร้างสรรค์ …. เพื่อสร้างความหลากหลายทางความคิด

การคิดเชิงวิเคราะห์ …. เพื่อมีมุมมองแบบแยกองค์ประกอบ

การคิดเชิงกลยุทธ์ ….เพื่อมีมุมมองเชิงทางเลือก และ จัดลำดับความสำคัญ

หากผู้ปฏิบัติงานได้รับการพัฒนาทักษะการคิดด้านต่างๆ และการเขียนแผนภาพความคิดด้วย Mind Map จะช่วยเพิ่มทักษะการสื่อสาร การนำเสนอ การวางแผนทรัพยากร การแก้ปัญหาและการตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้น


Mind Map (มายแมพ) หรือแผนผังความคิด เป็นเครื่องมือในการช่วยคิดและจดบันทึก ใช้เพื่อถ่ายทอดความคิดหรือข้อมูลออกมาเป็นแผนภาพแบบเป็นรัศมี ได้รับการคิดค้นโดย โทนี บูซาน (Tony Buzan) ถือเป็นเครื่องมือการคิด ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากและแพร่หลายไปทั่วโลก

หลักสูตร Mind map เป็นหลักสูตรที่ถ่ายทอดเทคนิคการคิดที่สอดคล้องกับการทำงานตามธรรมชาติของสมองมนุษย์ จึงเป็นการใช้ศักยภาพของสมองอย่างเต็มประสิทธิภาพ อีกทั้งช่วยเพิ่มสมรรถนะในการคิด เชื่อมโยงความคิดใหม่ๆให้กว้างขวางขึ้นอย่างไม่สิ้นสุด

Mind Map สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการทำงาน หรือการดำเนินชีวิตด้านต่างๆได้อย่างมากมาย เช่น

ด้านความคิดสร้างสรรค์ : ช่วยเพิ่มศักยภาพในการเรียนรู้ ของสมองทั้ง 2 ซีก กระตุ้นให้เกิดจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ ด้านการจัดระเบียบความคิด : ทำให้เห็นภาพรวมและรายละเอียดของเรื่องราวต่างๆชัดเจน ทำให้สรุปใจความสำคัญของเรื่องราวต่างๆได้ง่ายขึ้น ด้านกลยุทธ์และการวางแผน : ใช้ในการวางแผน ตั้งแต่เรื่องส่วนตัว การทำงาน การวางแผนองค์กร การทำโครงการต่างๆ ด้านการคิดเชิงวิเคราะห์ : ช่วยในการวิเคราะห์โดยการแยกองค์ประกอบ และตัดสินใจแก้ปัญหาได้ดียิ่งขึ้น ด้านการระดมความคิด (brainstorming) : สามารถระดมความคิดแบบกลุ่มโดยสอดคล้องกับการทำงานของสมองอย่างเป็นอิสระ

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะและกระบวนการคิดแบบองค์รวม การคิดแบบบูรณการ และการคิดอย่างเป็นระบบ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการคิดและการถ่ายทอดโดยใช้ Mind Mapping

2. เพื่อสร้างการเรียนเข้าใจหลักการทำงานทั่วไปของสมองที่นำไปสู่กระบวนการคิด

3. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำเทคนิค เครื่องมือที่ได้ดเรียนรู้ไปประยุกต์ใช้กับการทำงานได้

หัวข้อการฝึกอบรม

PART 1 : เรียนรู้และเข้าใจหลักการทำงานของสมองและการคิดประเภทต่างๆ

  – สำรวจแนวความคิดด้านทักษะการคิดของตัวเอง

  – หลักการสำคัญของการเป็นนักคิด

  – เข้าใจการทำงานของสมองที่ส่งผลต่อการคิด

  – ครบเครื่องเรื่องทักษะการคิด 5 แบบเพื่อจัดการปัญหาอย่างเป็นระบบ

      – การคิดเชิงแก้ปัญหา ( Problem Thinking )

      – การคิดเชิงวิเคราะห์ ( Analytic Thinking )

      – การคิดเชิงสร้างสรรค์ ( Creativity Thinking )

      – การคิดเชิงกลยุทธ์ ( Strategic Thinking )

      – การคิดเชิงบูรณการ ( Integrated Thinking )

    – Workshop : กิจกรรมพัฒนาทักษะการคิด

PART 2 : หลักการพื้นฐานของการเขียน Mind Map

  – Mind Map คืออะไร

  – เหตุใดจึงควรใช้ Mind Map

  – การเขียน Mind Map ควรมีหลักคิดอย่างไร

  – หลักการเขียน Mind Map ได้อย่างมั่นใจ

  – ตัวอย่างการเขียน Mind Map ในการทำงานและการดำเนินชีวิตทั่วไป

  – ถอดบทเรียนตัวอย่างMind Map เพื่อเข้าใจหลักการเขียนเชิงลึก

  – Workshop : สร้าง Mind Map ในสไตล์ของตัวเองพร้อมทั้งฝึกถอดบทเรียนการคิดที่ใช้เขียน

PART 3 : ประยุกต์ใช้ Mind Map กับการทำงานและการดำเนินชีวิตทั่วไป

    – Mind Map กับการวางแผนเพื่อพิชิตเป้าหมาย

  – Mind Map กับการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ

  – Mind Map กับการนำเสนอแนวคิด

  – Mind Map กับการวางผังบุคลากร

  – Mind Map กับการสอนงานและมอบหมายงาน

  – Mind Map กับการสร้างสมดุลชีวิต

  – Workshop : ประยุกต์ใช้ Mind Map กับการการทำงานจริง

ผู้เข้าฝึกอบรม

-ผู้บริหาร ผู้จัดการ และพนักงาน ที่ต้องการใช้ Mind Map มาช่วยในการบริหารงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

-ผู้ที่ต้องการฝึกคิดอย่างเป็นระบบด้วย Mind Map

-ผู้ที่ต้องการนำมายแมพ (Mind Map) มาใช้ในการวางแผนกิจกรรมต่าง ๆ ภายในองค์กรและชีวิตประจำวัน

-ผู้ที่ต้องการพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ด้วยมายแมพ

-ผู้ที่ต้องการใช้สมองทั้งสองซีก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

ระยะเวลาการฝึกอบรม:

1 วัน (6 ชั่วโมง)

จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม:

30 คน

วิธีการฝึกอบรม: บรรยาย 40% กิจกรรมการเรียนรู้ 60%

– เป็นการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ (Adult Learning) โดยผู้เรียนต้องเรียนรู้ด้วยตัวเอง และนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในแนวทางของตัวเอง

– กิจกรรมการเรียนรู้

– การบรรยาย-สาธิต

– ระดมสมอง – เกมประกอบหลักสูตร – กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์

– การแสดงบทบาทสมมติ

– วิทยากรทำหน้าที่เพียงผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ (Facilitator) ทำให้การพัฒนาเป็นไปตามธรรมชาติของผู้เรียนรู้นั้น ๆ

วิธีการประเมินผล

– จากแบบสอบถามและการสังเกต

– จากการสุ่มตัวอย่างทดสอบและทบทวนกลับ

– จากข้อมูลที่ได้รับและการติดตาม วิเคราะห์ประเมินผลจากนามธรรมสู่รูปธรรมจนเกิดประสิทธิผลสูงสุด

ติดต่อสอบถาม

โทร.: 08 9177 1345 (พัชรี)

โทร.: 08 9448 8767 (วฤทธิ์)

อีเมล์: contact@gttc.co.th