การบริหารเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ

การบริหารเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ

(Effective Time Management)

หลักการและเหตุผล

ด้วยสภาพแวดล้อมการทำงานที่เคร่งเครียดและเร่งรีบ บุคลากรในองค์กรส่วนใหญ่จึงมักประสบปัญหาการทำงานไม่เสร็จสิ้นสมบูรณ์ตามกรอบเวลาที่กำหนด ซึ่งส่งผลโดยตรงทั้งต่อภาพรวมของแผนงานหรือธุรกิจ ที่ต้องประสบปัญหาและผลกระทบต่อสภาพจิตใจ สุขภาพ และการดำเนินวิถีชีวิตของบุคลากรเอง ที่อาจเสียสมดุลระหว่างชีวิตงานกับชีวิตส่วนตัวไป

ดังนั้น การที่บุคลากรขององค์กรได้ตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการบริหารเวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งในการทำงานและการดำเนินชีวิต จึงส่งผลให้ตัวบุคลากรเหล่านั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงพฤติกรรม เกิดแรงกระตุ้นภายใน ในการสร้างหรือผลิตผลงานที่มีคุณภาพภายใต้ทรัพยากรเวลาที่มีอยู่อย่างจํากัด อีกทั้งส่งผลให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างสมดุล มีความสุขในงานที่รับผิดชอบ

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ตระหนักรู้ถึงความสำคัญของเวลา

2. เพื่อให้สามารถนำองค์ความรู้หรือเครื่องมือมาใช้ในการบริหารจัดการเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ

3. ให้เข้าใจถึงหลักการสอดแทรกวิธีการบริหารเวลาที่ดีเข้าไปในทุกมิติและขั้นตอนของการหางาน

4. กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงพฤติกรรมของบุคลากร

หัวข้อการฝึกอบรม

1. ความหมายของเวลาและความสำคัญของการบริหารเวลา

2. ธรรมชาติของเวลากับการทำงาน

3. บุคลิกคน 4 ประเภทที่เกี่ยวเนื่องกับพฤติกรรมการบริหารเวลา

4. พื้นฐานการจัดลำดับความสำคัญเพื่อการบริหารเวลา

5. คนทำงานมืออาชีพกับการจัดการเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ

6. เทคนิคการบริหารเวลาในการดำเนินการประชุม

7. เทคนิคการบริหารเวลาของหัวหน้างานที่ดี

8. เทคนิคการบริหารเวลากับการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ

ผู้เข้าฝึกอบรม

– พนักงาน

– หัวหน้างาน

– ผู้จัดการ

ระยะเวลาการฝึกอบรม:

1 วัน (6 ชั่วโมง)

จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม:

30 คน

วิธีการฝึกอบรม: บรรยาย 40% กิจกรรมการเรียนรู้ 60%

– เป็นการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ (Adult Learning) โดยผู้เรียนต้องเรียนรู้ด้วยตัวเอง และนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในแนวทางของตัวเอง

– กิจกรรมการเรียนรู้

– การบรรยาย-สาธิต

– ระดมสมอง – เกมประกอบหลักสูตร – กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์

– การแสดงบทบาทสมมติ

– วิทยากรทำหน้าที่เพียงผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ (Facilitator) ทำให้การพัฒนาเป็นไปตามธรรมชาติของผู้เรียนรู้นั้น ๆ

วิธีการประเมินผล

– จากแบบสอบถามและการสังเกต

– จากการสุ่มตัวอย่างทดสอบและทบทวนกลับ

– จากข้อมูลที่ได้รับและการติดตาม วิเคราะห์ประเมินผลจากนามธรรมสู่รูปธรรมจนเกิดประสิทธิผลสูงสุด

ติดต่อสอบถาม

โทร.: 08 9177 1345 (พัชรี)

โทร.: 08 9448 8767 (วฤทธิ์)

อีเมล์: contact@gttc.co.th