การบริหารเวลาแนวพุทธ
เพื่อเสริมสร้างชีวิตให้เบิกบาน
งานมีประสิทธิภาพ

(Effective Time Management with Buddhist Methods)

หลักการและเหตุผล

จากพุทธศาสนสุภาษิต กล่าวไว้ว่า “อย่าปล่อยกาลเวลาให้ล่วงไปโดยเปล่าประโยชน์”และ “คนที่ผลัดวันว่าพรุ่งนี้ ย่อมเสื่อม ยิ่งผลัดว่ามะรืนนี้ ก็ยิ่งเสื่อม” แสดงให้เห็นว่าคำสอนในทางพระพุทธศาสนานั้นให้ความสำคัญกับเวลา สมดังที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก ทรงพระนิพนธ์หนังสือเรื่อง “ปราชญ์กล่าวว่าชีวิตนี้น้อยนัก” ได้ทรงมีพระประสงค์ให้คนไทยตระหนักถึงเรื่องของเวลา อายุ ชีวิตในปัจจุบันของแต่ละคนเช่นกัน บุคคลมีเวลา 24 ชั่วโมง/วันเท่ากัน ฉะนั้นการบริหารจัดการเวลาอย่างไร จึงสามารถใช้เวลาในชีวิตและการงานให้เกิดคุณค่าและประโยชน์สูงสุด ไม่ปล่อยชีวิตและเวลาให้ผ่านเลยโดยเปล่าประโยชน์ ไม่ใช้เวลาเป็นสิ่งกำหนดชีวิตที่เร่งรัดตัวเองมากเกินไปจนทำให้ชีวิตต้องตกอยู่ภายใต้ความกดดันของเวลาและเกิดความเครียด แต่ควรใช้ชีวิตเป็นตัวกำหนดเวลาจึงดี โดยมีความเข้าใจต่อธรรมชาติของชีวิตและธรรมชาติของเวลา สามารถบริหารองคาพยพของเวลา เพื่อให้เกิดเอกภาพและความสมดุลจนนำไปสู่ความสำเร็จ

ทั้งนี้ การบริหารเวลาโดยการนำหลักพุทธธรรม มาผสมผสานเชื่อมโยงกับศาสตร์องค์ความรู้เกี่ยวกับการบริหารเวลาโดยทั่วไป จนเกิดเป็นรูปแบบองค์ความรู้ใหม่ด้านการบริหารเวลาแนวพุทธ เรียกว่า“MKUT Model” (มกุฏ โมเดล) นั้น เป็นการบริหารจัดการเวลาโดยใช้เวลาอย่างมีความรู้ ซึ่งประกอบไปด้วยความมีสติ ความตระหนักรู้ในความถูกต้องของช่วงระยะเวลาที่ทำกิจกรรมนั้นๆ เมื่อความรู้สมบูรณ์ย่อมทำให้การใช้เวลาสมบูรณ์ ก่อให้เกิดประสิทธิภาพด้วยความมีสารประโยชน์ดี จนสามารถบรรลุผลจริง จึงควรส่งเสริมสนับสนุนจัดการอบรมสัมมนาให้บุคลากรขององค์กรที่เกี่ยวข้องได้เรียนรู้และตะหนักถึงการบริหารเวลาฯ ดังกล่าว

วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์/ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้เรียนรู้และตระหนักถึงคุณค่าความสำคัญของการบริหารเวลา

2. เพื่อเสริมสร้างทักษะการบริหารเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ

3. เพื่อส่งเสริมให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ใช้ศักยภาพตัวเองอย่างเต็มความสามารถ ในการบริหารจัดการเวลาอย่างครอบคลุมทุกมิติของชีวิตตนเองด้วยรูปแบบ MKUT Model

4. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากหลักสูตรไปประยุกต์ใช้ในการทำงานด้านการบริหารจัดการเวลาร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลดีต่อการพัฒนางานและเป็นการสร้างชื่อเสียงให้กับองค์กร สืบต่อไป

หัวข้อการฝึกอบรม

 – ธรรมชาติของเวลาและที่มา

 – ธรรมชาติของชีวิตและความเป็นไป

 – คุณค่า ประโยชน์และความสำคัญของการบริหารเวลา

 – ลักษณะของเวลาในพระพุทธศาสนา

 – ปัญหาและอุปสรรคการบริหารเวลา

 – ผลกระทบจากการบริหารเวลา

 – แนวคิดในการบริหารจัดการเวลา

 – เวลากับการพัฒนาชีวิตด้วยรูปแบบ MKUT Model

 – การบริหารเวลาตามลำดับความสำคัญและความเร่งด่วน

 – การบริหารเวลาเพื่อความรู้ตน รู้คน รู้บริษัท

 – การบริหารเวลาเพื่อกำหนดแผนงาน

 – การบริหารเวลาเพื่อคุมเวลา

 – การบริหารเวลาเพื่อบรรลุผลจริง

 – ไม้บรรทัดทองใช้วัดการฝึกฝน

 – เทคนิคการเลิกนิสัยการผัดวันประกันพรุ่ง

 – หลุมพรางขัดขวางความสำเร็จที่ต้องระมัดระวัง

 – พันธะสัญญากับการบริหารเวลาร่วมกัน

ผู้เข้าฝึกอบรม

– พนักงาน

– หัวหน้างาน

– ผู้จัดการ

ระยะเวลาการฝึกอบรม:

1 วัน (6 ชั่วโมง)

จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม:

30 คน

วิธีการฝึกอบรม: บรรยาย 40% กิจกรรมการเรียนรู้ 60%

– เป็นการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ (Adult Learning) โดยผู้เรียนต้องเรียนรู้ด้วยตัวเอง และนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในแนวทางของตัวเอง

– กิจกรรมการเรียนรู้

– การบรรยาย-สาธิต

– ระดมสมอง – เกมประกอบหลักสูตร – กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์

– การแสดงบทบาทสมมติ

– วิทยากรทำหน้าที่เพียงผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ (Facilitator) ทำให้การพัฒนาเป็นไปตามธรรมชาติของผู้เรียนรู้นั้น ๆ

วิธีการประเมินผล

– จากแบบสอบถามและการสังเกต

– จากการสุ่มตัวอย่างทดสอบและทบทวนกลับ

– จากข้อมูลที่ได้รับและการติดตาม วิเคราะห์ประเมินผลจากนามธรรมสู่รูปธรรมจนเกิดประสิทธิผลสูงสุด

ข้อมูลที่ได้รับจากการตั้งไลน์กลุ่ม TM Line (Time Management) เพื่อติดตามผลหลังอบรม

ติดต่อสอบถาม

โทร.: 08 9177 1345 (พัชรี)

โทร.: 08 9448 8767 (วฤทธิ์)

อีเมล์: contact@gttc.co.th