การประยุกต์ใช้ระบบตัวชี้วัด KPI

การประยุกต์ใช้ระบบตัวชี้วัด KPI

(Applications of the KPI indicator system)

หลักการและเหตุผล

ในโลกธุรกิจยุคปัจจุบัน จำเป็นต้องทราบถึงความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งจะช่วยให้สามารถปรับตัวและเอาชนะปัจจัยภายนอกที่ถาโถมเข้ามาได้เป็นอย่างดี โดยเครื่องมือหนึ่งซึ่งนิยมใช้เพื่อการนี้คือตัวชี้วัดผลงานหลัก (Key Performance Indicator: KPI) เนื่องจากเครื่องมือดังกล่าวมีจุดเด่นหลายประการ อาทิเช่น ตัวชี้วัดผลงานหลักกำหนดขึ้นเป็นตัวเลขทำให้การสื่อสารเป้าหมายจากระดับบริหารสู่ระดับพนักงานกระทำได้ชัดเจน จำนวนเป้าหมายหลักมีการกำหนดเงื่อนไขว่าจะต้องมีไม่มาก ทำให้องค์กรมีจุดเน้น (Focus) ที่ชัดเจน การลงทุนและการจัดสรรทรัพยากร ซึ่งแต่ละองค์กรล้วนมีอยู่อย่างจำกัด จึงมีทิศทางและสามารถหวังผลได้อย่างแท้จริง

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมทราบถึงแนวคิดและหลักการเกี่ยวกับการวัดผลงาน

2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำแนวคิดและหลักการเกี่ยวกับการวัดผลงานข้างต้นมาจัดทำตัวชี้วัดผลงานหลักในระดับองค์กร ระดับทีมงาน และระดับพนักงานได้ด้วยตนเอง

3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจถึงวิธีการนำตัวชี้วัดผลงานหลักไปใช้ประโยชน์ และสามารถป้องกันปัญหาจากการใช้เครื่องมือที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งจะทำให้การใช้ตัวชี้วัดผลงานหลักเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

หัวข้อการฝึกอบรม

1. ความจำเป็นที่ต้องมีการวัดผลงาน

2. วิวัฒนาการของการวัดผลงาน และเครื่องมือที่ใช้ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

3. วิธีการตั้งเป้าหมายองค์กร

4. วิธีการจัดทำตัวชี้วัดผลงานหลักระดับองค์กร

5. วิธีการถ่ายทอดตัวชี้วัดผลงานหลักสู่ระดับหน่วยงาน ทีมงาน และระดับบุคคล

6. การฝึกปฏิบัติ

7. การนำตัวชี้วัดผลงานหลักไปใช้ประโยชน์ในด้านการบริหารงานบุคคล

8. ข้อควรระวังเมื่อมีการนำตัวชี้วัดผลงานหลักไปใช้ประโยชน์

ผู้เข้าฝึกอบรม

– พนักงาน

– หัวหน้างาน

– ผู้จัดการ

ระยะเวลาการฝึกอบรม:

1 วัน (6 ชั่วโมง)

จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม:

30 คน

วิธีการฝึกอบรม: บรรยาย 40% กิจกรรมการเรียนรู้ 60%

– เป็นการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ (Adult Learning) โดยผู้เรียนต้องเรียนรู้ด้วยตัวเอง และนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในแนวทางของตัวเอง

– กิจกรรมการเรียนรู้

– การบรรยาย-สาธิต

– ระดมสมอง – เกมประกอบหลักสูตร – กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์

– การแสดงบทบาทสมมติ

– วิทยากรทำหน้าที่เพียงผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ (Facilitator) ทำให้การพัฒนาเป็นไปตามธรรมชาติของผู้เรียนรู้นั้น ๆ

วิธีการประเมินผล

– จากแบบสอบถามและการสังเกต

– จากการสุ่มตัวอย่างทดสอบและทบทวนกลับ

– จากข้อมูลที่ได้รับและการติดตาม วิเคราะห์ประเมินผลจากนามธรรมสู่รูปธรรมจนเกิดประสิทธิผลสูงสุด

ติดต่อสอบถาม

โทร.: 08 9177 1345 (พัชรี)

โทร.: 08 9448 8767 (วฤทธิ์)

อีเมล์: contact@gttc.co.th