เปลี่ยนปัญหาเป็นขุมทรัพย์

เปลี่ยนปัญหาเป็นขุมทรัพย์

(Turning a problem into a treasure)

หลักการและเหตุผล

ในที่ทำงานทั้งในภาคอุตสาหกรรมการผลิตและการบริการปัญหามีทุกวัน แล้วแต่มีมากมีน้อยตามความสามารถในการจัดการของแต่ละองค์กร ในแต่ละวันสิ่งที่พนักงาน หัวหน้าแผนก และผู้จัดการต้องจัดการให้บรรลุวัตถุประสงค์หลักของการผลิตและการบริการ คือ คุณภาพผลิตภัณฑ์ต้องให้ได้ตามข้อกำหนด การส่งมอบต้องตรงตามเวลา และต้องควบคุมต้นทุนให้ได้ตามต้นทุนมาตรฐาน (Q C D) ซึ่งในแต่ละวันมีปัจจัยต่าง ๆ ทั้งที่จัดการ (ควบคุม) ได้ และจัดการไม่ได้เข้ามาเกี่ยวข้องมากมาย ทำให้เกิดปัญหาในกระบวนผลิตเป็นเหตุให้ทั้งคุณภาพ การส่งมอบ และต้นทุน ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย

• ปัจจัยที่สามารถจัดการได้ แต่กว่าจะจัดการได้ก็มีทั้งปัญหาทำงานซ้ำ (Redo) การแก้ไขงาน (Rework) ซึ่งเราต้องเสียต้นทุนค่าแรงงาน ค่าวัตถุดิบ พลังงาน และเวลา ทั้งทางตรง และทางอ้อม

• ปัจจัยที่ไม่สามารถจัดการได้ ยิ่งหนักไปกันใหญ่ ต้องสูญเสียมากกว่าอีก เช่น ความเชื่อมั่น (ความมั่นใจ) ของลูกค้าที่มีต่อเรา ไม่รับสินค้าเพราะเกินกำหนดเวลา ตีกลับสินค้าเพราะงานตกสเปก ลูกค้ายกเลิกคำสั่งซื้อ เก็บเงินไม่ได้ ชื่อเสียงเสียหาย และที่สำคัญ คือ การเสียกำลังใจของพนักงาน

จะเห็นว่าสิ่งที่เราต้องสูญเสียไปในแต่ละวัน คือ มูลค่า (ขุมทรัพย์) ทั้งที่นับได้ และนับไม่ได้ (แอบแฝง) เราทิ้งมันไปทุกวันๆ เราไม่เสียดายมันหรือ?

ในหลักสูตรนี้จะชี้ให้เห็นถึงปัญหาในที่ทำงาน แล้วทำการเปลี่ยนปัญหาที่พบให้เป็นขุมทรัพย์มหาศาล ด้วยหลักการ เครื่องมือ และวิธีการปฏิบัติ ที่พนักงานทุกระดับสามารถนำไปปฏิบัติในที่ทำงานเพื่อเปลี่ยนปัญหาที่พบเจอทุก ๆวั น ให้เป็นขุมทรัพย์มหาศาลได้ ที่สำคัญทำให้บริษัทฯ มีการพัฒนาและสามารถแข่งขันได้อย่างยั่งยืน


วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เห็นความสำคัญของปัญหา (ปัญหาเป็นขุมทรัพย์มหาศาล)

2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้มีความเข้าใจในการค้นหา และบ่งชี้ปัญหา

3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้มีความเข้าใจในกระบวนการเปลี่ยนปัญหาให้เป็นขุมทรัพย์

4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้มีความเข้าใจในการใช้เครื่องมือในการเปลี่ยนปัญหาให้เป็นขุมทรัพย์

หัวข้อการฝึกอบรม

1. แนวคิดการจัดการคุณภาพทั่วทั้งองค์กร (TQM)

2. ปัญหาคืออะไร? การค้นหาปัญหา และระบุปัญหา

3. กระบวนการ และเครื่องมือในการเปลี่ยนปัญหาให้เป็นขุมทรัพย์

    • ลายแทง คือ “ผังกระบวนการ” (Work process or Business process)

   • เครื่องมือในการค้นหา คือ “เครื่องมือในการปรับปรุงคุณภาพ”(Tools) ได้แก่ 7 QC Tools, New 7 QC Tools

   • คน คือพนักงานทุกระดับ ตั้งแต่พนักงานปฏิบัติการจนถึง ผู้บริหารระดับสูง

   • ระดับบริหาร ต้องมีนโยบายหรือมีกรอบในการจัดการคุณภาพ เช่น มีนโยบายใช้ระบบบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร (TQM)

   • ระดับจัดการ ต้องมีการสนองนโยบาย เช่น มีการจัดตั้งคณะกรรมการ Cross Functional Management (การบริหารคร่อมสายงาน)

   • ระดับปฏิบัติการ ต้องมีการสนองนโยบาย เช่น การปรับปรุงคุณภาพโดยใช้ QC Story

ผู้เข้าฝึกอบรม

– พนักงาน

– หัวหน้างาน

– ผู้จัดการ

ระยะเวลาการฝึกอบรม:

1 วัน (6 ชั่วโมง)

จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม:

30 คน

วิธีการฝึกอบรม: บรรยาย 40% กิจกรรมการเรียนรู้ 60%

– เป็นการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ (Adult Learning) โดยผู้เรียนต้องเรียนรู้ด้วยตัวเอง และนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในแนวทางของตัวเอง

– กิจกรรมการเรียนรู้

– การบรรยาย-สาธิต

– ระดมสมอง – เกมประกอบหลักสูตร – กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์

– การแสดงบทบาทสมมติ

– วิทยากรทำหน้าที่เพียงผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ (Facilitator) ทำให้การพัฒนาเป็นไปตามธรรมชาติของผู้เรียนรู้นั้น ๆ

วิธีการประเมินผล

– จากแบบสอบถามและการสังเกต

– จากการสุ่มตัวอย่างทดสอบและทบทวนกลับ

– จากข้อมูลที่ได้รับและการติดตาม วิเคราะห์ประเมินผลจากนามธรรมสู่รูปธรรมจนเกิดประสิทธิผลสูงสุด

ติดต่อสอบถาม

โทร.: 08 9177 1345 (พัชรี)

โทร.: 08 9448 8767 (วฤทธิ์)

อีเมล์: contact@gttc.co.th