การบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม

(Total Productive Maintenance : TPM)

หลักการและเหตุผล

ในธุรกิจอุตสาหกรรมที่ใช้เครื่องจักรเป็นหลักในการผลิตมักไม่ได้สนใจหาวิธีการใช้และบำรุงรักษาอย่างถูกต้อง ผลที่ตามมา ก็คือเครื่องจักรเสียบ่อย ต้องเสียเวลาซ่อมและเวลาการผลิต เครื่องจักรไม่มีสมรรถนะการทำงานที่ดี ผลิตชิ้นงานออกมาไม่ได้ตามข้อกำหนดอย่างสม่ำเสมอ สัมพันธภาพที่ไม่ดีระหว่างหน่วยงานผลิต และหน่วยงานซ่อมบำรุง ทำให้เกิดการแก้ไขงานที่มีผลทำให้ต้นทุนสูง การส่งมอบไม่ทันเวลา ซึ่งส่งผลให้ขาดความสามารถในการแข่งขัน เทคนิคที่สามารถช่วยทำให้เครื่องจักรเสียเป็นศูนย์ (Zero Breakdown) เป็นเทคนิคการบำรุงรักษาที่เป็นความร่วมมือระหว่างพนักงานหน่วยซ่อมบำรุง และพนักงานหน่วยผลิตซึ่งถูกพัฒนาขึ้นในประเทศญี่ปุ่น และเป็นที่นิยมใช้ในประเทศต่าง ๆ คือการบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม ซึ่งสามารถทำให้ใช้เครื่องจักรได้อย่างมีประสิทธิผล ลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงรักษาและผลิตสินค้าได้คุณภาพและปริมาณตามความต้องการของลูกค้า

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ทราบถึงพัฒนาการของการบำรุงรักษา และขั้นตอนการบำรุงรักษาทวีผล

2. เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของการบำรุงรักษาที่มีผลต่อประสิทธิภาพของการผลิต

3. สามารถวางแผนและดำเนินการ TPM ได้อย่างเป็นขั้นตอน

4. เพื่อให้ทราบถึงวิธีการบำรุงรักษาเครื่องจักรด้วยตนเอง

5. เพื่อเสริมสร้างทักษะจากกรณีศึกษาจากโรงงานตัวอย่าง

หัวข้อการฝึกอบรม

1. แนวคิดในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต

2. การมองปัญหาและการวิเคราะห์ปัญหา

3. รู้จักกับการบำรุงรักษาแบบต่างๆ

     3.1 การบำรุงรักษาด้วยตนเอง (Autonomous Maintenance)

     3.2 การปรับปรุงเฉพาะเรื่อง (Individual Improvement)

     3.3 การบำรุงรักษาเชิงวางแผน (Planned Maintenance)

     3.4 การบำรุงรักษาเชิงคุณภาพ (Quality Maintenance)

     3.5 การบำรุงรักษาทวีผล (Productive Maintenance)

4. ใครเกี่ยวข้องบ้างในระบบการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน?

5. การวัดประสิทธิภาพเครื่องจักรด้วย OEE , MTBF , MTTR

6. KPI การบำรุงรักษา

7. สิ่งที่จำเป็นต้องมีมีการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน

8. ขั้นตอนการวางระบบการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน

9. การทำ PM ที่ประสบผลสำเร็จ

Workshop / กรณีศึกษา

   Workshop 1 : การทำงานเป็นทีม

   Workshop 2 : ค้นหาของเสียในกระบวนการผลิต

   Workshop 3 : ออกแบบการบำรุงรักษาด้วยตัวเอง

   Workshop 4 : ทักษะการแก้ไขปัญหา

ผู้เข้าฝึกอบรม

– พนักงาน

– หัวหน้างาน

– ผู้จัดการ

ระยะเวลาการฝึกอบรม:

1 วัน (6 ชั่วโมง)

จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม:

30 คน

วิธีการฝึกอบรม: บรรยาย 40% กิจกรรมการเรียนรู้ 60%

– เป็นการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ (Adult Learning) โดยผู้เรียนต้องเรียนรู้ด้วยตัวเอง และนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในแนวทางของตัวเอง

– กิจกรรมการเรียนรู้

– การบรรยาย-สาธิต

– ระดมสมอง – เกมประกอบหลักสูตร – กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์

– การแสดงบทบาทสมมติ

– วิทยากรทำหน้าที่เพียงผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ (Facilitator) ทำให้การพัฒนาเป็นไปตามธรรมชาติของผู้เรียนรู้นั้น ๆ

วิธีการประเมินผล

– จากแบบสอบถามและการสังเกต

– จากการสุ่มตัวอย่างทดสอบและทบทวนกลับ

– จากข้อมูลที่ได้รับและการติดตาม วิเคราะห์ประเมินผลจากนามธรรมสู่รูปธรรมจนเกิดประสิทธิผลสูงสุด

ติดต่อสอบถาม

โทร.: 08 9177 1345 (พัชรี)

โทร.: 08 9448 8767 (วฤทธิ์)

อีเมล์: contact@gttc.co.th