5ส เพื่อการพัฒนาองค์กร

5ส เพื่อการเพิ่มผลผลิตและปรับปรุงงาน

(5S for organizational development)

หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันการแข่งขันในธุรกิจมีความรุนแรงมากขึ้น สิ่งที่จะทำให้องค์กรธุรกิจสามารถแข่งขันเพื่ออยู่รอดได้ คือการทำให้องค์กรใช้ศักยภาพที่องค์กรมีอยู่อย่างเต็มที่เพื่อเพิ่มผลผลิตขององค์กรให้ถึงจุดที่สามารถแข่งขันได้อย่างเหมาะสม ในการเพิ่มผลผลิตมีปัจจัยหลายอย่างที่เกี่ยวข้องซึ่งต้องมีการผสมผสานในการควบคุมปัจจัยต่าง ๆ ให้เหมาะสม โดยการบูรณาการปัจจัยต่าง ๆ ซึ่งมีหลากหลายแนวทางเข้าด้วยกัน

การดำเนินกิจกรรม 5ส. เป็นการสร้างพื้นฐานให้กับพนักงานในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ กิจกรรม 5ส. ประกอบด้วย สะสาง สะดวก สะอาด สุขลักษณะและสร้างนิสัย การดำเนินกิจกรรม 5ส. ไม่ใช่เรื่องยากแต่ต้องให้พนักงานเข้าใจและเห็นประโยชน์ของการทำกิจกรรม 5ส. ดังนั้นการส่งเสริมและผลักดันให้พนักงานทุกคนมีจิตสานึก และความตระหนักในการมีส่วนร่วมในกิจกรรม 5ส. จะนำไปสู่ผลลัพธ์ของการดำเนินงานตามนโยบายและเป้าหมายที่บริษัทกำหนด และสิ่งสำคัญคือการอบรมให้พนักงานทุกคนทราบขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม 5ส. จึงเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญเพื่อให้พนักงานดำเนินกิจกรรมไปในทิศทางเดียวกันก่อให้เกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กรที่ดีและทำให้บริษัทประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเข้าใจกิจกรรมการทำ 5ส อย่างถูกต้อง เห็นความสำคัญของการทำกิจกรรม 5ส

2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถกำจัดความสูญเปล่าต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากการทำงาน

3. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถวางแผนกิจกรรม 5ส ในพื้นที่การปฏิบัติงานของตนเองได้ และสามารถสร้างมาตรฐานการปฏิบัติ 5ส ของพื้นที่ทำงานได้


หัวข้อการฝึกอบรม

1. แนวคิดการเพิ่มผลผลิต

2. หลักการ 5ส และขั้นตอนการดำเนินโครงการ

3. 5ส เพื่อการเพิ่มผลผลิต และปรับปรุงงาน

4. การทำ 5ส. อย่างมีประสิทธิภาพ

5. การจัดทำเอกสารระบบ 5ส / การจัดทำมาตรฐาน 5ส

ผู้เข้าฝึกอบรม

– พนักงาน

– หัวหน้างาน

– ผู้จัดการ

ระยะเวลาการฝึกอบรม:

1 วัน (6 ชั่วโมง)

จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม:

30 คน

วิธีการฝึกอบรม: บรรยาย 40% กิจกรรมการเรียนรู้ 60%

– เป็นการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ (Adult Learning) โดยผู้เรียนต้องเรียนรู้ด้วยตัวเอง และนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในแนวทางของตัวเอง

– กิจกรรมการเรียนรู้

– การบรรยาย-สาธิต

– ระดมสมอง – เกมประกอบหลักสูตร – กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์

– การแสดงบทบาทสมมติ

– วิทยากรทำหน้าที่เพียงผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ (Facilitator) ทำให้การพัฒนาเป็นไปตามธรรมชาติของผู้เรียนรู้นั้น ๆ

วิธีการประเมินผล

– จากแบบสอบถามและการสังเกต

– จากการสุ่มตัวอย่างทดสอบและทบทวนกลับ

– จากข้อมูลที่ได้รับและการติดตาม วิเคราะห์ประเมินผลจากนามธรรมสู่รูปธรรมจนเกิดประสิทธิผลสูงสุด

ติดต่อสอบถาม

โทร.: 08 9177 1345 (พัชรี)

โทร.: 08 9448 8767 (วฤทธิ์)

อีเมล์: contact@gttc.co.th