การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัยแบบ KYT

การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัยแบบ KYT

(KYT Conceptual Training)

หลักการและเหตุผล

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเสมอในการปฏิบัติงานในทุกองค์กร คือความปลอดภัย โดยเฉพาะการผลิตในภาคอุตสาหกรรมและการทำงานกับเครื่องจักร ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะได้รับอันตรายจากการทำงานเป็นอย่างมาก หากการป้องกันไม่รัดกุมเพียงพอ อาจก่อให้เกิดความเสียหายทั้งผู้ปฏิบัติงาน วัตถุดิบและเครื่องจักรในการผลิต อุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการใช้เครื่องจักรโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และความประมาทของผู้ปฏิบัติงานเอง นอกจากนี้แล้วสภาพแวดล้อมในการทำงาน เช่น การวางผังโรงงาน อากาศ แสงสว่าง หรือเสียงก็อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ หากสิ่งเหล่านั้นมีความบกพร่องและผิดจากมาตรฐานที่กำหนดไว้ ดังนั้นความปลอดภัยในการทำงานจึงเป็นหัวใจสำคัญของการทำงาน เมื่อมีความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องแล้วนั้น โอกาสที่จะประสบอันตรายในขณะทำงานในองค์กรโดยรวมย่อมลดน้อยลง

ความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน คือ สภาพที่ปลอดภัยจากอุบัติภัยต่าง ๆ อันจะเกิดแก่ร่างกาย ชีวิต หรือทรัพย์สินในขณะที่ปฏิบัติงาน ซึ่งก็คือ สภาพการทำงานที่ถูกต้องโดยปราศจาก “อุบัติเหตุ” ในการทำงานนั่นเอง หลักสูตรนี้จึงได้ถูกออกแบบให้สร้างจิตสำนึกให้กับผู้เข้าอบรม เพื่อให้อุบัติเหตุในการปฏิบัติงานเป็นศูนย์ และลดเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดหมาย เพื่อลดผลกระทบต่อการทำงานที่จะทำให้ทรัพย์สินเสียหายหรือ บุคคลได้รับบาดเจ็บจากการเกิดอุบัติเหตุ

การวิเคราะห์ความปลอดภัยแบบ KYT เป็นเครื่องมือหรือเทคนิคในการวิเคราะห์ที่คิดค้นมาจากประเทศญี่ปุ่น และจัดได้ว่าเป็นเทคนิคหนึ่งที่นิยมใช้ในการวิเคราะห์ความปลอดภัยสำหรับสถานประกอบการในประเทศไทย โดยเนื้อหาของการอบรมจะครอบคลุม สถานการณ์ความไม่ปลอดภัยในการทำงานปัจจุบัน หลักการเบื้องต้นด้านความปลอดภัยในการทำงาน การส่งเสริมจิตสำนึกด้านความปลอดภัย เทคนิคและวิธีการ วิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัยแบบ KYT และมุ่งเน้นกิจกรรมฝึกปฏิบัติ KYT เพื่อความเข้าใจและการปฏิบัติที่ถูกต้อง

วัตถุประสงค์

1. เพื่อสร้างจิตสำนึกและความเข้าใจถึงความสำคัญของความปลอดภัย

2. เพื่อสร้างแนวคิดในการดำเนินกิจกรรมเพื่อลดอุบัติเหตุ อย่างเป็นระบบ

3. เพื่อเสริมสร้างแนวคิดการป้องกัน การวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ของความไม่ปลอดภัยอย่างเป็นมีรูปแบบ

4. เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุง และพัฒนาหน่วยงาน ด้านความปลอดภัยให้แก่บริษัทอย่างต่อเนื่อง

5. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความมั่นใจในการทำงานให้ปลอดภัยมากขึ้น

6. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเชื่อมั่นและกล้าถ่ายทอดประสบการณ์ความรู้ ความชำนาญในการทำงานให้เกิดความปลอดภัย

7. เพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำงานให้กับผู้เข้ารับการอบรม

หัวข้อการฝึกอบรม

1. สถานการณ์ความไม่ปลอดภัยในสถานประกอบการของไทยในปัจจุบัน

2. ความหมายของความปลอดภัย และประโยชน์ของการป้องกันอุบัติเหตุ

3. ความสำคัญของจิตสำนึกด้านความปลอดภัย

4. สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุในการปฏิบัติงานและผลเสียที่เกิดจากอุบัติเหตุ

5. แนวทางการป้องกันอุบัติเหตุ

6. ความหมายของ KYT (K-kiken, Y-Yochi, T-Training)

7. ความหมายของการทำงานด้วยใจรัก

8. เทคนิคและวิธีการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัยแบบ KYT จุดเดียว และปากเปล่า

9. เทคนิคและวิธีการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัยแบบ KYT 4 ขั้นตอน

10. รูปภาพสื่อสารถึงความปลอดภัย

11. การตั้งสโลแกนโดยเลือกมาตรการป้องกันที่ดีที่สุด ทำและจำได้ง่าย ตะโกนเตือนตนก่อนทำงาน

    • Workshop1 การฝึกเขียนลำดับขั้นการทำงานและการวิเคราะห์จากงานตัวอย่าง เพื่อปรับปรุงการทำงาน

    • Workshop2 ระดมสมอง Safety Brainstorming เพื่อสอบสวนและวิเคราะห์อุบัติเหตุ

    • Workshop3 ทำกิจกรรม KYT เพื่อให้เกิดความตระหนักต่ออุบัติเหตุในการทำงาน

ผู้เข้าฝึกอบรม

– พนักงาน

– หัวหน้างาน

– ผู้จัดการ

– ผู้ที่สนใจทั่วไป

ระยะเวลาการฝึกอบรม:

1 วัน (6 ชั่วโมง)

จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม:

30 คน

วิธีการฝึกอบรม: บรรยาย 40% กิจกรรมการเรียนรู้ 60%

– เป็นการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ (Adult Learning) โดยผู้เรียนต้องเรียนรู้ด้วยตัวเอง และนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในแนวทางของตัวเอง

– กิจกรรมการเรียนรู้

– การบรรยาย-สาธิต

– ระดมสมอง – เกมประกอบหลักสูตร – กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์

– การแสดงบทบาทสมมติ

– วิทยากรทำหน้าที่เพียงผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ (Facilitator) ทำให้การพัฒนาเป็นไปตามธรรมชาติของผู้เรียนรู้นั้น ๆ

วิธีการประเมินผล

– จากแบบสอบถามและการสังเกต

– จากการสุ่มตัวอย่างทดสอบและทบทวนกลับ

– จากข้อมูลที่ได้รับและการติดตาม วิเคราะห์ประเมินผลจากนามธรรมสู่รูปธรรมจนเกิดประสิทธิผลสูงสุด

ติดต่อสอบถาม

โทร.: 08 9177 1345 (พัชรี)

โทร.: 08 9448 8767 (วฤทธิ์)

อีเมล์: contact@gttc.co.th