การสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พลังงานอย่างยั่งยืน

การสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พลังงานอย่างยั่งยืน

(Sustainable Energy Saving Awareness)

หลักการและเหตุผล

องค์กรใดก็ตามที่พนักงานทุกคนมีจิตสำนึกในการประหยัดfพลังงาน องค์กรนั้นจะเกิดการลดต้นทุนและมีใช้พลังงานได้เกิดประโยชน์สูงสุด ดังนั้นการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พลังงานอย่างยั่งยืน” จะเป็นการฝึกอบรมที่ให้พนักงานตระหนักถึงคุณค่าของพลังงานและผลกระทบจากการใช้พลังงาน ขั้นตอนวิธีการในการใช้อย่างประหยัด เต็มประสิทธิภาพ เป็นระบบและง่ายในการนำไปใช้ปฏิบัติจริงทั้งในชีวิตประจำวันและในองค์กร ซึ่งจะมีกรณีตัวอย่างกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์กรที่ประสบความสำเร็จ รวมทั้งได้ฝึกคิดการระดมสมองในการร่วมกันหาวิธีประหยัดพลังงานของผู้เข้าอบรม เพื่อสร้างจิตสำนึกการประหยัดพลังงานให้เกิดขึ้นแก่องค์กรได้

หลักสูตรนี้จึงเป็นคำตอบที่ดีของ การสร้างจิตสำนึกในการประหยัดพลังงานอย่างยั่งยืน และสามารถนำไปใช้ได้จริง เพื่อให้พนักงานทุกคนเกิดความตระหนักถึงผลกระทบด้านต่าง ๆ จาการใช้พลังงานที่สิ้นเปลือง ทั้งต่อตอนเอง ต่อองค์กร ประเทศชาติ และต่อสภาวะแวดล้อมของโลกเราได้อีกด้วย

วัตถุประสงค์

1. เพื่อสร้างจิตสำนึกในการประหยัดพลังงาน อย่างเป็นระบบ

2. เพื่อเสริมสร้างแนวคิดการป้องกัน การวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาด้านพลังงานอย่างเป็นมีรูปแบบ

3. เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาหน่วยงานและองค์กรด้านพลังงานอย่างต่อเนื่อง

4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความเข้าใจต่อผลกระทบของการใช้พลังงานในปัจจุบันได้อย่างถูกต้อง

5. เพื่อสร้างการทำงานเป็นทีม การยอมรับในความเห็นที่แตกต่าง เกิดความสามัคคี

6. เพื่อสร้างแรงจูงใจในการประหยัดพลังงานให้กับผู้เข้ารับการอบรม

หัวข้อการฝึกอบรม

1. จิตสำนึกการประหยัดพลังงาน

    – แหล่งที่มาของพลังงาน

   – พลังงานสำคัญอย่างไร

   – การใช้พลังงานของโลกและประเทศไทยในปัจจุบัน

   – พลังงานทดแทนในอนาคต

   – จิตสำนึกและกิจกรรมการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พลังงาน

2. วิธีการประหยัดพลังงานและผลกระทบจากการใช้พลังงานมากเกินความจำเป็น

   – ภาวะโลกร้อน ที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อม

   – ผลกระทบด้านสภาวะอากาศของโลกและสิ่งแวดล้อม

   – การคิดคำนวณค่าพลังงานไฟฟ้าอย่างง่าย

   – วิธีตรวจสอบค่าใช้กำลังไฟฟ้าของเครื่องจักร อุปกรณ์ ที่ใช้ในองค์กร

   – แนวทางและวิธีการประหยัดพลังงาน

   – ทัศนะคติเดิม ๆ ที่ไม่ช่วยกันประหยัดพลังงาน

3. บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการอนุรักษ์พลังงาน และวิธีการประหยัดพลังงานในระบบต่างๆ

   – บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการอนุรักษ์พลังงานในองค์กร

   – การประหยัดระบบแสงสว่าง

   – การประหยัดระบบการปรับอากาศ

   – การประหยัดระบบการอัดอากาศ

   – การประหยัดระบบมอเตอร์

   – การประหยัดพลังงานในสำนักงาน

4. ตัวอย่างความสำเร็จในการประหยัดพลังงาน

5. แนวโน้มสถานการณ์ของการอนุรักษ์พลังงานในอนาคตเพื่อความยั่งยืน

   – นโยบายไทยแลนด์ 4.0 กับการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม

   – โรงงานและองค์กรในยุค ไทยแลนด์ 4.0

   – การปรับตัวขององค์กรในอนาคต

   – ISO 50001 ระบบมาตรฐานการจัดการด้านพลังงาน

   – Workshop1: รวมทีมคำนวนค่าไฟ

   – Workshop2: ระดมสมองเพื่อให้ได้ค่าพลังงานที่ต้องการ

   – Workshop3: ช่วยคิด ช่วยจำ ช่วยลดใช้พลังงาน

ผู้เข้าฝึกอบรม

– พนักงาน

– หัวหน้างาน

– ผู้จัดการ

– ผู้ที่สนใจทั่วไป

ระยะเวลาการฝึกอบรม:

1 วัน (6 ชั่วโมง)

จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม:

30 คน

วิธีการฝึกอบรม: บรรยาย 40% กิจกรรมการเรียนรู้ 60%

– เป็นการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ (Adult Learning) โดยผู้เรียนต้องเรียนรู้ด้วยตัวเอง และนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในแนวทางของตัวเอง

– กิจกรรมการเรียนรู้

– การบรรยาย-สาธิต

– ระดมสมอง – เกมประกอบหลักสูตร – กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์

– การแสดงบทบาทสมมติ

– วิทยากรทำหน้าที่เพียงผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ (Facilitator) ทำให้การพัฒนาเป็นไปตามธรรมชาติของผู้เรียนรู้นั้น ๆ

วิธีการประเมินผล

– จากแบบสอบถามและการสังเกต

– จากการสุ่มตัวอย่างทดสอบและทบทวนกลับ

– จากข้อมูลที่ได้รับและการติดตาม วิเคราะห์ประเมินผลจากนามธรรมสู่รูปธรรมจนเกิดประสิทธิผลสูงสุด

ติดต่อสอบถาม

โทร.: 08 9177 1345 (พัชรี)

โทร.: 08 9448 8767 (วฤทธิ์)

อีเมล์: contact@gttc.co.th