กิจกรรมกลุ่มควบคุมคุณภาพ ภาคปฎิบัติ (2 วัน)

กิจกรรมกลุ่มควบคุมคุณภาพ ภาคปฏิบัติ

(QCC in Practice)

หลักการและเหตุผล

“ปัญหา คือ สิ่งที่อยู่คู่กับการทำงานตลอดเวลา” ทั้งในอุตสาหกรรมภาคบริการ และการผลิต ปัญหามีทั้งปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราว และปัญหาที่เกิดขึ้นเรื้อรังเกิดอยู่เป็นประจำ ปัญหาที่เกิดเรื้อรังอยู่เป็นประจำจนทำให้เรารู้สึกเคยชินและยอมรับกับความสูญเสียที่เกิดขึ้นไม่คิดจะปรับปรุงให้ดีขึ้น นั่นคือ “ต้นทุน” การผลิตและการบริการ ถ้าต้องการให้องค์กรสามารถแข่งขันในตลาดได้เราจำเป็นต้องปรับปรุงคุณภาพกระบวนการทำงานให้ดีขึ้นเพื่อลดความสูญเสียซึ่งเป็นการ “ลดต้นทุน” นั่นเอง การปรับปรุงคุณภาพกระบวนการทำงานที่ดีที่สุด คือ การให้พนักงานที่ปฏิบัติงานอยู่หน้างานมีส่วนร่วม เพราะพนักงานเหล่านี้รู้ปัญหาดีที่สุด กิจกรรมปรับปรุงคุณภาพกระบวนการทำงานที่เหมาะสม คือ กิจกรรมกลุ่มคุณภาพ QCC เพราะเป็นกิจกรรมที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของพนักงานทุกระดับในหน่วยงาน เน้นการทำงานเป็นทีมและช่วยกันระดมความคิดในการปรับปรุงคุณภาพ

กิจกรรมกลุ่มคุณภาพ QCC (Quality Control Circle) ถือได้ว่าเป็นกิจกรรมพื้นฐานที่สำคัญในการปรับปรุงคุณภาพกระบวนการทำงาน และการเพิ่มผลผลิต โดยอาศัยปรัชญาพื้นฐานและหลักการของการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมทั้งองค์กร ดังนั้นการที่องค์กรจะริเริ่มให้มีการนำกิจกรรมคิวซีซีมาเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารงานจึงควรมีการให้ความรู้ในระดับที่สามารถดำเนินกิจกรรมกลุ่มย่อยได้โดยเฉพาะในระดับปฏิบัติการ เพื่อให้สามารถใช้กระบวนการและขั้นตอนของกิจกรรมคิวซีไปปรับปรุงคุณภาพงานอย่างได้ผลจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมหรือวิธีการทำงานประจำวันของทุกคนในองค์กรให้ได้

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจในการใช้เครื่องมือคุณภาพ QC 7 Tools อย่างถูกต้อง

2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจการทำงานเป็นทีม การระดมสมอง และการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์

3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจขั้นตอนและเทคนิคการดำเนินกิจกรรมกลุ่มคุณภาพ QCC และขั้นตอนการแก้ปัญหาแบบ QC Story ได้อย่างถูกต้อง

4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมตระหนักถึงการปรับปรุงกระบวนการอย่างต่อเนื่อง ตามขั้นตอนการแก้ปัญหาแบบ QC Story

หัวข้อการฝึกอบรม

1. ปัญหา สาเหตุของปัญหาและ แนวคิดการจัดการปัญหาที่ทุกคนมีส่วนร่วม

2. แนวคิด ประโยชน์ และการส่งเสริม QCC

3. ขั้นตอนการจัดทำ QCC

    • เลือกหัวข้อปัญหา

   • ศึกษาสภาพปัจจุบันและตั้งเป้าหมาย

   • จัดทำแผนดำเนินการแก้ไข

   • วิเคราะห์สาเหตุของปัญหา

   • กำหนดมาตรการและแผนการดำเนินการแก้ไข

   • ตรวจสอบผลลัพธ์

   • จัดทำเป็นมาตรฐาน

4. QC 7 Tools

   • ใบรายการตรวจสอบ (Check Sheet)

   • กราฟ (Graph)

   • ผังพาเรโต (Pareto Diagram)

   • ผังแสดงเหตุและผล (Cause and Effect Diagram)

   • ผังสหสัมพันธ์ (Scatter Diagram)

   • ฮิสโตแกรม (Histogram)

   • แผนภูมิควบคุม (Control Chart)

5. เครื่องมือคุณภาพอื่น ๆ

   • Why-Why Analysis

   • Flow Process Chart

   • 3 Gen

   • 5W1H

6. QC Story

   Workshop

ผู้เข้าฝึกอบรม

– พนักงาน

– หัวหน้างาน

– ผู้จัดการ

ระยะเวลาการฝึกอบรม:

2 วัน (12 ชั่วโมง)

จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม:

30 คน

วิธีการฝึกอบรม: บรรยาย 40% กิจกรรมการเรียนรู้ 60%

– เป็นการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ (Adult Learning) โดยผู้เรียนต้องเรียนรู้ด้วยตัวเอง และนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในแนวทางของตัวเอง

– กิจกรรมการเรียนรู้

– การบรรยาย-สาธิต

– ระดมสมอง – เกมประกอบหลักสูตร – กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์

– การแสดงบทบาทสมมติ

– วิทยากรทำหน้าที่เพียงผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ (Facilitator) ทำให้การพัฒนาเป็นไปตามธรรมชาติของผู้เรียนรู้นั้น ๆ

วิธีการประเมินผล

– จากแบบสอบถามและการสังเกต

– จากการสุ่มตัวอย่างทดสอบและทบทวนกลับ

– จากข้อมูลที่ได้รับและการติดตาม วิเคราะห์ประเมินผลจากนามธรรมสู่รูปธรรมจนเกิดประสิทธิผลสูงสุด

ติดต่อสอบถาม

โทร.: 08 9177 1345 (พัชรี)

โทร.: 08 9448 8767 (วฤทธิ์)

อีเมล์: contact@gttc.co.th