หลักเกณฑ์และวิธีที่ดีในการผลิต GHP

หลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิต GHP

(Good Hygiene Practice)

หลักการและเหตุผล

“GHP: Good Hygiene Practice”หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร เป็นเกณฑ์หรือแนวทางที่กำหนดขึ้นเพื่อให้ผู้ผลิตนำไปประยุกต์ใช้กับการผลิตอาหารทุกชนิด เพื่อให้อาหารเกิดความปลอดภัย เน้นการป้องกันมากกว่าการแก้ไข โดยคำนึงถึงการควบคุมดูแลการผลิตอย่างเป็นระบบตั้งแต่โครงสร้างอาคาร สถานที่ตั้ง การควบคุมการผลิต บุคลากร การสุขาภิบาล สุขลักษณะ สิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็น ในอันที่จะลดและขจัดโอกาสของการปนเปื้อนที่เป็นอันตรายลงสู่อาหาร ซึ่งอาจทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยต่อสุขภาพหรือเกิดความเจ็บป่วยของผู้บริโภคได้

ในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันว่า การผลิตอาหารให้เกิดความปลอดภัย จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร ซึ่งหน่วยงานมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศหรือ Codex ได้กำหนดเป็นข้อกำหนดมาตรฐานสากล เรียกว่า General Principles of Food Hygiene หรือ Good Hygiene Practice (GHP)

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงหลักเกณฑ์ แนวทางปฏิบัติ และวิธีการที่ดีในการผลิตอาหารแก่ผู้เกี่ยวข้องในกระบวนการผลิตและผู้ควบคุมการผลิตอย่างเป็นระบบ โดยมุ่งเน้นในการลด ขจัดความเสี่ยงต่าง ๆ ในทุก ๆ ด้าน และสามารถตรวจสอบพิษภัยหรืออันตรายใด ๆ ต่อผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากมีการปนเปื้อนของจุลินทรีย์หรือสารเคมีที่ไม่พึงประสงค์เข้าไปในอาหาร

2. เพื่อให้ท่านเจ้าของบริษัทผู้ผลิตอาหารและผู้บริหารเกิดความเข้าใจข้อกำหนดและสามารถวางแนวทางกระบวนการผลิตได้อย่างเหมาะสมตามหลักสุขอนามัย เริ่มตั้งแต่การออกแบบโครงสร้างอาคาร การติดตั้งเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ดี มีการควบคุมกระบวนการผลิต โดยเฉพาะการลดและขจัดอันตรายสำคัญที่จะก่อให้เกิดปัญหาความไม่ปลอดภัย การปนเปื้อนข้ามในทุกกรณี ไม่ว่าจะเป็นการปนเปื้อนจากผู้ปฏิบัติงาน เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ การขนส่ง รวมทั้งสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ในการผลิต

3. เพื่อให้สามารถกำหนดแนวทางในการบำรุงรักษาและสุขาภิบาล การจัดการสุขลักษณะส่วนบุคคล การฝึกอบรมที่จำเป็นและเพียงพอ เพื่อให้เกิดความเข้าใจปัจจัยที่จะทำให้เกิดการปนเปื้อนไปสู่อาหาร การจัดทำเอกสารและรายงานข้อมูลบ่งชี้สถานการณ์การผลิตในจุดสำคัญที่มีความเสี่ยง

หัวข้อการฝึกอบรม

บทที่ 1: หลักการของ GHP: Good Hygiene Practice

    – ความเป็นมาของ GHP

   – GHP คืออะไร

   – ประโยชน์ของ GHP

   – หลักการของ GHP ตามมาตรฐาน Codex

บทที่ 2: ประเภทของ GHP : Good Hygiene Practice

   – GHP สุขลักษณะทั่วไป (General GHP)

   – GHP เฉพาะผลิตภัณฑ์ (Specific GHP)

บทที่ 3: หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร GHP สุขลักษณะทั่วไป

   – หน่วยงานมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ Codex

   – ข้อกำหนดของ GHP สุขลักษณะทั่วไป

บทที่ 4: การออกแบบอาคาร เครื่องจักรอุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวก

   – โครงสร้างพื้นฐาน อาคารและสิ่งแวดล้อม Establishment, Location

   – อาคารและโครงสร้าง Layout, Internal Structure and Fitting

   – การออกแบบและติดตั้งเครื่องจักรและอุปกรณ์ในการผลิต Design Equipment

   – น้ำ, ประเภทน้ำใช้ และคุณภาพน้ำ Water Supply

   – ท่อระบายน้ำ Drainage & Waste Disposal

   – การทำความสะอาด Cleaning

   – สุขลักษณะส่วนบุคคลและห้องสุขา Personnel Hygiene Facilities & Toilets

   – การควบคุมอุณหภูมิ Temperature Control

   – อากาศและการระบายอากาศ Air Quality & Ventilation

   – แสงสว่าง Lighting

   – ห้องเก็บรักษา Storage

บทที่ 5: การควบคุมการผลิต Control of Operation

   – การควบคุมอุณหภูมิและเวลาในการผลิต Temperature & Time Control

   – ขั้นตอนการผลิตที่ออกแบบเป็นพิเศษ Specific Processes

   – แนวทางการป้องกันความไม่ปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

   – การควบคุมคุณภาพของน้ำ น้ำแข็งและไอน้ำ Water, Ice and Steam

   – การเรียกคืนสินค้าจากท้องตลาด Recall Procedures

   – คุณสมบัติของบุคลากรในการผลิต

   – หัวใจสำคัญในการควบคุมการผลิตเพื่อให้อาหารเกิดความปลอดภัย

บทที่ 6: การบำรุงรักษาและการสุขาภิบาล Maintenance and Sanitation

   – การบำรุงรักษาและการล้างทำความสะอาด Maintenance and Cleaning

   – โปรแกรมการทำความสะอาด Cleaning Program

   – การควบคุมสัตว์พาหะนำเชื้อ Pest Control

   – การกำจัดขยะและของเสีย Waste Management

   – การตรวจประสิทธิผลของการบำรุงรักษาสุขาภิบาล Monitoring Effectiveness

บทที่ 7: สุขลักษณะส่วนบุคคล Personal Hygiene

   – ข้อกำหนดเกี่ยวกับสุขลักษณะส่วนบุคคลในการผลิตอาหาร

   – หลักเกณฑ์สำหรับผู้ปฏิบัติงานที่สัมผัสกับอาหารโดยตรง

   – ข้อห้ามสำหรับผู้ปฏิบัติงานในบริเวณผลิตอาหาร

   – หลักปฏิบัติของผู้เข้าเยี่ยมชมในบริเวณผลิตอาหาร

บทที่8:การขนส่ง Transportation

   – วิธีปฏิบัติที่ดีในการขนส่ง ตามหลักเกณฑ์ GHP

   – มาตรการป้องกันการปนเปื้อนในการขนส่งลงสู่อาหาร

บทที่ 9: ข้อมูลผลิตภัณฑ์และการให้ข้อมูลผู้บริโภค Products information

   – ปัจจัยสำคัญของการบ่งชี้และการให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์

   – ประเภทของข้อมูลที่จำเป็นต้องแสดงต่อผู้บริโภค

บทที่ 10: การฝึกอบรม Training

   – ความจำเป็นในการฝึกอบรมให้แก่พนักงาน

   – ความรู้และหลักสูตรที่สำคัญเพื่อความปลอดภัยในการผลิตอาหาร

บทที่ 11: GHP กฎหมาย

   – ทะเบียนกฎหมายที่เกี่ยวกับข้อกำหนดมาตรฐานการผลิตอาหาร

   – ประกาศกระทรวงสาธารณสุข GHP สุขลักษณะทั่วไป

บทที่ 12: GHP – HACCP – ISO 22000:2018

   – การรับรองระบบ GHP – Certificate GHP

   – ความแตกต่างของ GHP – HACCP – ISO 22000:2018

   – ความก้าวหน้าพัฒนาของระบบการบริหารคุณภาพของการผลิตอาหาร

ผู้เข้าฝึกอบรม

1. เจ้าของบริษัทผู้ผลิตอาหาร และผู้บริหารในธุรกิจผลิตอาหาร ได้แก่ ผู้จัดการโรงงาน,ผู้จัดการฝ่าย,ผู้จัดการแผนกที่รับผิดชอบเรื่องการผลิตอาหารให้เกิดความปลอดภัย

2. หัวหน้างาน พนักงาน เจ้าหน้าที่ที่ทำงานและดูแลด้านระบบ GHP อาหาร

3. ผู้ปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมอาหาร และผู้สนใจระบบคุณภาพการผลิตอาหาร

ระยะเวลาการฝึกอบรม:

1 วัน (6 ชั่วโมง)

จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม:เวลา:

30 คน

วิธีการฝึกอบรม: บรรยาย 40% กิจกรรมการเรียนรู้ 60%

– เป็นการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ (Adult Learning) โดยผู้เรียนต้องเรียนรู้ด้วยตัวเอง และนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในแนวทางของตัวเอง

– กิจกรรมการเรียนรู้

– การบรรยาย-สาธิต

– ระดมสมอง – เกมประกอบหลักสูตร – กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์

– การแสดงบทบาทสมมติ

– วิทยากรทำหน้าที่เพียงผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ (Facilitator) ทำให้การพัฒนาเป็นไปตามธรรมชาติของผู้เรียนรู้นั้น ๆ

วิธีการประเมินผล

– จากแบบสอบถามและการสังเกต

– จากการสุ่มตัวอย่างทดสอบและทบทวนกลับ

– จากข้อมูลที่ได้รับและการติดตาม วิเคราะห์ประเมินผลจากนามธรรมสู่รูปธรรมจนเกิดประสิทธิผลสูงสุด

ติดต่อสอบถาม

โทร.: 08 9177 1345 (พัชรี)

โทร.: 08 9448 8767 (วฤทธิ์)

อีเมล์: contact@gttc.co.th