การประเมินค่างานเพื่อบริหารคนบริหารงานให้เป็นเลิศ

การประเมินค่างานเพื่อบริหารคนบริหารงานให้เป็นเลิศ

(Performance appraisals for excellence in managing personnel)

หลักการและเหตุผล

“ค่าตอบแทนน้อยยังไม่เป็นปัญหาเท่าให้ค่าตอบแทนแบบไม่มีเหตุผล” คำกล่าวนี้เป็นเรื่องที่ค่อนข้างชัดเจนว่า การบริหารคนให้เกิดความยุติธรรมเป็นสิ่งสำคัญที่จะจูงใจผู้มีความสามารถให้เข้ามาและคงอยู่กับองค์กรมากกว่ามูลค่าของค่าตอบแทน เทคนิคหนึ่งที่ใช้เพื่อการบริหารให้เกิดความยุติธรรม คือ “การประเมินค่างาน” ซึ่งนอกจากจะเป็นวิธีการวิเคราะห์เพื่อให้สามารถจ่ายค่าตอบแทนและสวัสดิการได้อย่างเหมาะสมแล้ว ยังนำไปใช้ในเรื่องของการจัดสรรผลประโยชน์อื่น ๆ การมอบหมายคนให้เหมาะกับงาน และการจูงใจและรักษาบุคลากรได้เป็นอย่างดีด้วย

หลักสูตรนี้ถูกออกแบบมาเพื่อปูพื้นฐานในเชิงทฤษฎี และเชื่อมโยงไปจนถึงการลงมือปฏิบัติ พร้อมยกตัวอย่างโดยอาศัยกรณีศึกษาของบริษัทชั้นนำต่าง ๆ ในประเทศไทย

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจ และสามารถนำแนวคิด วิธีปฏิบัติมาใช้ให้เกิดผลได้จริง

2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถกำหนดหลักเกณฑ์และทำการประเมินค่างานได้เอง

3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำผลประเมินที่ได้ไปใช้ในการจัดระดับชั้นงาน กำหนดค่าตอบแทนและสวัสดิการ รวมทั้งดูแลรักษาบุคลากรได้เป็นอย่างดี

หัวข้อการฝึกอบรม

1. เหตุผลและความจำเป็นที่ต้องประเมินค่างาน

2. พัฒนาการของการประเมินค่างาน

3. ศัพท์เทคนิคเกี่ยวกับการประเมินค่างาน

4. กระบวนการประเมินค่างาน

5. วิธีการประเมินค่างานวิธีต่าง ๆ : ข้อดีและข้อจำกัด

6. กรณีศึกษาของการใช้เครื่องมือประเมินค่างาน

7. การเลือกเกณฑ์การประเมินให้เหมาะสมกับบริบทและทิศทางของบริษัทตนเอง

8. การฝึกปฏิบัติ (Workshop)

9. การเชื่อมโยงผลประเมินกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เช่น การจัดระดับชั้นงาน ความก้าวหน้าในสายอาชีพ และโครงสร้างเงินเดือน

ผู้เข้าฝึกอบรม

– พนักงาน

– หัวหน้างาน

– ผู้จัดการ

ระยะเวลาการฝึกอบรม:

1 วัน (6 ชั่วโมง)

จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม:เวลา:

30 คน

วิธีการฝึกอบรม: บรรยาย 40% กิจกรรมการเรียนรู้ 60%

– เป็นการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ (Adult Learning) โดยผู้เรียนต้องเรียนรู้ด้วยตัวเอง และนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในแนวทางของตัวเอง

– กิจกรรมการเรียนรู้

– การบรรยาย-สาธิต

– ระดมสมอง – เกมประกอบหลักสูตร – กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์

– การแสดงบทบาทสมมติ

– วิทยากรทำหน้าที่เพียงผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ (Facilitator) ทำให้การพัฒนาเป็นไปตามธรรมชาติของผู้เรียนรู้นั้น ๆ

วิธีการประเมินผล

– จากแบบสอบถามและการสังเกต

– จากการสุ่มตัวอย่างทดสอบและทบทวนกลับ

– จากข้อมูลที่ได้รับและการติดตาม วิเคราะห์ประเมินผลจากนามธรรมสู่รูปธรรมจนเกิดประสิทธิผลสูงสุด

ติดต่อสอบถาม

โทร.: 08 9177 1345 (พัชรี)

โทร.: 08 9448 8767 (วฤทธิ์)

อีเมล์: contact@gttc.co.th