การจัดทำดัชนีชี้วัดผลงานหลัก เพื่อการจัดการที่เป็นเลิศ

การจัดทำดัชนีชี้วัดผลงานหลัก เพื่อการจัดการที่เป็นเลิศ

(Key Performance Indicators for Excellence Management)

หลักการและเหตุผล

การที่องค์การจะกระทำภารกิจหลักให้บรรลุวัตถุประสงค์และมีการเติบโตได้อย่างยั่งยืนนั้น องค์การจำเป็นจะต้องมีแผนกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับสถานการณ์และบริบทของธุรกิจ อีกทั้งมีวิธีการวัดผลงานที่ถูกต้อง ชัดเจน เป็นธรรม และง่ายต่อการดีความให้เข้าใจได้ตรงกัน แต่ปัญหาที่มักพบในทุกองค์กร คือการถ่ายทอดดัชนีชี้วัดผลงานจากระดับองค์กร (ซึ่งมักออกแบบการวัดผลไว้อย่างดีเยี่ยมแล้ว) ลงสู่ระดับหน่วยงาน และระดับบุคคล ไม่สามารถทำให้เกิดความชัดเจน และสะท้อนผลลัพธ์กลับไปยังองค์กรได้อย่างเป็นธรรมว่า หน่วยงานใด หรือผู้ใดที่เป็นผู้สร้างความสำเร็จให้กับองค์กรมากกว่ากัน เพื่อที่ว่าผู้บริหารจะสามารถจัดสรรผลประโยชน์ได้อย่างถูกฝาถูกตัว ก่อให้เกิดแรงจูงใจและขวัญกำลังใจที่จะรังสรรค์ผลงานให้ดียิ่งขึ้นได้ต่อไป

สถานการณ์ดังกล่าว พบบ่อยครั้งในหน่วยงานที่เป็นสายสนับสนุนมากกว่าสายงานหลัก เนื่องจากเป็นหน่วยงานที่สะท้อนความสำเร็จในทางอ้อม เป็นหน่วยงานที่ใช้เงิน (Cost Center) ซํ้างานเหล่านี้ก็มักจะมีความแตกต่างกัน ยากที่จะนำมาเทียบเคียง และใช้ดัชนีชี้วัดตัวเดียวกันได้ ดังนั้นการมีหลักเกณฑ์และวิธีการตั้งตัวชี้วัดที่ชัดเจนจึงมีความสำคัญ และท้าทายต่อผู้ทำหน้าที่บริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้เกี่ยวกับแนวคิดและหลักการเกี่ยวกับการวัดผลงานที่ถูกต้อง

2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำแนวคิดและหลักการเกี่ยวกับการวัดผลงานข้างด้นมาจัดทำตัวชี้วัดผลงานหลักในระดับองค์กร ระดับทีมงาน และระดับพนักงานได้ด้วยตนเอง

3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจถึงวิธีการนำดัชนีชี้วัดผลงานหลักไปใช้ประโยชน์ และสามารถป้องกันปัญหาจากการใช้เครื่องมือที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งจะทำให้การใช้ดัชนีชี้วัดผลงานหลักเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

4. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงได้รับฟ้งข้อท้วงติง ข้อคิด ข้อควรระวัง เพื่อนำไปใช้วิเคราะห์และปรับปรุงดัชนีชี้วัดผลงานได้อย่างถูกต้อง

หัวข้อการฝึกอบรม

1. ปูพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับการจัดทำดัชนีชี้วัดผลงาน ได้แก่

    • นิยาม ความหมาย ความจำเป็นที่ต้องมีการวัดผลงาน

   • วิวัฒนาการของการวัดผลงาน และเครื่องมือที่ใช้ตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน

   • วิธีการตั้งเป้าหมาย และดัชนีชี้วัดผลงานหลักองค์กร

   • วิธีการตรวจสอบคุณภาพดัชนีชี้วัด และปัจจัยแห่งความสำเร็จในการสร้างดัชนีชี้วัดด้วยหลักการ SMART

2. รูปแบบของระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปี

   • เทคนิคการกำหนดปัจจัยและนํ้าหนักที่จะใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงาน

   • เทคนิคการกำหนดผู้ประเมินและรอบการประเมิน

   • เทคนิคการติดตามผลและการสอนงาน

   • เทคนิคการแจ้งผลการปฏิบัติงานประจำปี

3. ทดลองออกแบบดัชนีชี้วัดผลงาน ด้วยกระบวนการวิเคราะห์ Workflow & Stakeholder Analysis, KPI Alignment, Analysis from BSC to Department & Individual KPI

4. สรุปบทเรียน ทบทวนวิธีการจัดทำ และให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมต่อการนำไปใช้ประโยชน์ เพื่อให้เกิดความชัดเจนและถูกต้องสูงสุด

ผู้เข้าฝึกอบรม

– พนักงาน

– หัวหน้างาน

– ผู้จัดการ

ระยะเวลาการฝึกอบรม:

1 วัน (6 ชั่วโมง)

จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม:

30 คน

วิธีการฝึกอบรม: บรรยาย 40% กิจกรรมการเรียนรู้ 60%

– เป็นการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ (Adult Learning) โดยผู้เรียนต้องเรียนรู้ด้วยตัวเอง และนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในแนวทางของตัวเอง

– กิจกรรมการเรียนรู้

– การบรรยาย-สาธิต

– ระดมสมอง – เกมประกอบหลักสูตร – กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์

– การแสดงบทบาทสมมติ

– วิทยากรทำหน้าที่เพียงผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ (Facilitator) ทำให้การพัฒนาเป็นไปตามธรรมชาติของผู้เรียนรู้นั้น ๆ

วิธีการประเมินผล

– จากแบบสอบถามและการสังเกต

– จากการสุ่มตัวอย่างทดสอบและทบทวนกลับ

– จากข้อมูลที่ได้รับและการติดตาม วิเคราะห์ประเมินผลจากนามธรรมสู่รูปธรรมจนเกิดประสิทธิผลสูงสุด

ติดต่อสอบถาม

โทร.: 08 9177 1345 (พัชรี)

โทร.: 08 9448 8767 (วฤทธิ์)

อีเมล์: contact@gttc.co.th