ความรู้เบื้องต้นระบบ GHP & HACCP สำหรับอุตสาหกรรมอาหารอ้างอิงมาตรฐาน CODEX

ความรู้เบื้องต้นระบบ GHP & HACCP สำหรับอุตสาหกรรมอาหารอ้างอิงมาตรฐาน CODEX

(Introduction to GHP & HACCP System for Food Industry, According to CODEX Standard)

วันที่:

15-16 มี.ค. 65, 17-18 พ.ค. 65, 19-20 ก.ค. 65, 20-21 ก.ย. 65, 15-16 พ.ย. 65

หลักการและเหตุผล

เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปในวงการอุตสาหกรรมอาหารต้องอาศัยระบบ GHP (Good Hygiene Practice) เป็นหลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิตอาหารและการนาหลักการของการวิเคราะห์อันตรายและควบคุมจุดวิกฤต (Hazard Analysis Critical Control Point: HACCP) ประเมินอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับผู้บริโภคในทุกขั้นตอนที่สำคัญในกระบวนการผลิตและแปรรูปอาหาร จัดทำขึ้นโดยหน่วยงานมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ หรือโคเด็กซ์ (CODEX) เพื่อให้สมาชิกทั่วโลกใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค

ดังนั้น การส่งเสริมทักษะความรู้และจัดทำระบบที่ถูกต้องเกี่ยวกับ GHP & HACCP จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งซึ่งบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหารควรได้รับการฝึกอบรม เพื่อนำความรู้มาปรับประยุกต์ใช้และพัฒนาระบบให้ดียิ่งขึ้นต่อไป อันจะส่งผลให้อุตสาหกรรมอาหารในประเทศไทยเป็นที่เชื่อถือในความปลอดภัยและสามารถแข่งขันกับตลาดโลกได้อย่างสง่างาม ผ่าเผยและถูกต้องตรงตามมาตรฐานสากลต่อไป

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้ตระหนักถึงความสำคัญในการจัดทำระบบ GMP & HACCP

2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ทราบและตระหนักถึงข้อกำหนดของ GMP & HACCP

3. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับมาปรับประยุกต์ใช้ได้ในองค์กร


หัวข้อการฝึกอบรม

บทที่ 1: ประเภทและชนิดของอันตรายในอุตสาหกรรมอาหาร

    – อันตรายทางชีวภาพ Biological Hazard

   – อันตรายจากสารเคมี Chemical Hazard

   – อันตรายทางกายภาพ Physical Hazard

บทที่ 2: GHP & HACCP ความสัมพันธ์และความแตกต่าง

   – หลักการและแนวปฏิบัติของ GHP

   – หลักการและแนวปฏิบัติของระบบ HACCP

   – ความเชื่อมโยงและความสัมพันธ์ของระบบ GHP & HACCP

   – ประโยชน์ที่อุตสาหกรรมอาหารไทยจะได้รับจากระบบ GHP & HACCP

บทที่ 3: หลักการของ GHP: Good Hygiene Practice

   – GHP คืออะไร, ประเภทของ GHP

   – หลักการของ GHP ตามมาตรฐาน Codex

   – ความแตกต่างระหว่าง GHP สุขลักษณะทั่วไป และ GHP เฉพาะผลิตภัณฑ์

บทที่ 4: หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร GHP ตามมาตรฐาน Codex

   – การออกแบบอาคาร เครื่องจักรอุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวก

   – การควบคุมการผลิต Control of Operation

   – การบำรุงรักษาและการสุขาภิบาล Maintenance and Sanitation

   – สุขลักษณะส่วนบุคคล Personal Hygiene

   – การขนส่ง Transportation

   – ข้อมูลผลิตภัณฑ์และการให้ข้อมูลผู้บริโภค Products information

   – การฝึกอบรม Training

บทที่ 5: หลักการของ HACCP

   – HACCP คืออะไร, ความเป็นมาของระบบ HACCP

   – วัตถุประสงค์หลักของการประยุกต์ใช้ระบบ HACCP

   – ประโยชน์ที่ได้รับจากการประยุกต์ใช้ระบบ HACCP

บทที่ 6: หลักการ 12 ขั้นตอน ของระบบ HACCP

   – การจัดตั้ง HACCP ทีม

   – การจัดทำรายละเอียดผลิตภัณฑ์ Describe Product

   – การชี้บ่งวัตถุประสงค์การใช้ผลิตภัณฑ์ Identify Intended Use

   – การจัดทำแผนภูมิกระบวนการผลิต Flow Diagram

   – การทวนสอบความถูกต้องของแผนภูมิกระบวนการผลิต Verification

   – การวิเคราะห์อันตราย Conduct a Hazard Analysis

   – การหาจุดวิกฤติที่ต้องควบคุม Identify Critical Control Points

   – การกำหนดค่าวิกฤติ Critical Limits

   – การกำหนดระบบเพื่อตรวจติดตามการควบคุมจุดวิกฤติที่ต้องควบคุม

   – การกำหนดวิธีการแก้ไขเมื่อตรวจพบว่าจุดวิกฤติที่ต้องควบคุมไม่อยู่ภายใต้การควบคุม

   – การทวนสอบเพื่อยืนยันประสิทธิภาพของระบบ HACCP

   – การจัดเก็บเอกสารที่เกี่ยวข้องวิธีปฏิบัติและบันทึกของระบบ HACCP

ผู้เข้าฝึกอบรม

1. เจ้าของบริษัทผู้ผลิตอาหาร และผู้บริหารในธุรกิจผลิตอาหาร ได้แก่ ผู้จัดการโรงงาน, ผู้จัดการฝ่าย, ผู้จัดการแผนกที่รับผิดชอบเรื่องการผลิตอาหารให้เกิดความปลอดภัย

2. หัวหน้างาน พนักงาน เจ้าหน้าที่ที่ทำงานและดูแลด้านระบบความปลอดภัยของอาหารทั้งระบบ GMP, HACCP และ ISO 22000

3. ผู้ปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมอาหาร ผู้ประกอบการที่เกี่ยวกับอาหารทั้งนำเข้าส่งออก ผู้ที่อยู่ในวงการอาหาร ผู้บริโภคที่สนใจในระบบคุณภาพด้านความปลอดภัยอาหาร

ระยะเวลาการฝึกอบรม:

2 วัน (12 ชั่วโมง)

เวลา:

09:00 – 16:00 น.

วิธีการฝึกอบรม: บรรยาย 40% กิจกรรมการเรียนรู้ 60%

– เป็นการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ (Adult Learning) โดยผู้เรียนต้องเรียนรู้ด้วยตัวเอง และนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในแนวทางของตัวเอง

– กิจกรรมการเรียนรู้

– การบรรยาย-สาธิต

– ระดมสมอง – เกมประกอบหลักสูตร – กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์

– การแสดงบทบาทสมมติ

– วิทยากรทำหน้าที่เพียงผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ (Facilitator) ทำให้การพัฒนาเป็นไปตามธรรมชาติของผู้เรียนรู้นั้น ๆ

วิธีการประเมินผล

– จากแบบสอบถามและการสังเกต

– จากการสุ่มตัวอย่างทดสอบและทบทวนกลับ

– จากข้อมูลที่ได้รับและการติดตาม วิเคราะห์ประเมินผลจากนามธรรมสู่รูปธรรมจนเกิดประสิทธิผลสูงสุด

อัตราค่าบริการท่านละ:

7,000 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7,490 บาท)

“สมัคร 4 ท่านขึ้นไป ได้รับส่วนลด 10%”

วิธีการสมัครและชำระเงิน

1. ส่งใบสมัครล่วงหน้าทางอีเมล์ และรอเจ้าหน้าที่ตอบยืนยันการฝึกอบรม

2. โอนค่าบริการตามรายการที่ปรากฎในใบแจ้งหนี้ที่เจ้าหน้าที่ตอบยืนยันการฝึกอบรม และยืนยันการชำระเงินโดยส่งสำเนาการโอนเงินมาที่ อีเมล์: contact@gttc.co.th

3. บริษัทฯ อยู่ในระบบ VAT 7% กรณีสมัครในนามบริษัท สามารถหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% เลขประจำตัวผู้เสียภาษี 0735556000020 บริษัท ฝึกอบรมและสัมมนาคิดดี จำกัด (สำนักงานใหญ่) 50/115 หมู่ที่ 13 ต.ไร่ขิง อ.สามพราน จ.นครปฐม 73210

4. ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม สามารถลดหย่อนภาษีได้ 200% ตามประกาศ พ.ร.บ. ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน

เงื่อนไขการยกเลิก

กรุณาแจ้งยกเลิกเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนวันอบรมอย่างน้อย 5 วันทำการ มิฉะนั้น บริษัทขอสงวนสิทธิ์เรียกเก็บ 50% ของค่าบริการ

ติดต่อสอบถาม

โทร.: 06 1142 6987 (เชอรี่)

อีเมล์: contact@gttc.co.th