การจัดทำใบบรรยายลักษณะงาน SMART JD

กระชับ ยืดหยุ่น ใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย

หลักการและเหตุผล

การมอบหมายให้ทุกคนทำงานไปสู่เป้าหมายเดียวกันทั้งองค์กรได้ คือปัจจัยแห่งความสำเร็จ

ใบบรรยายลักษณะงาน เป็นเอกสารที่มีความสำคัญต่อการบริหารงานบุคคลเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากจะเป็นการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบเพื่อใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติงานแล้ว ยังมีข้อมูลที่มีความสำคัญและจำเป็นในการบริหารบุคคล แต่ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นยุคของการแข่งขันทางธุรกิจ ที่มีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นด้านกลยุทธ์องค์กร ด้านเทคโนโลยี่ หรือการปรับเปลี่ยนกระบวนการ ฯลฯ เป็นเหตุให้บทบาทหน้าที่ของคน ต้องเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย ถ้า Job Description ไม่ถูกต้อง อาจทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล ตลอดจนความไม่ชัดเจนและความไม่เข้าใจในงาน บทบาทหน้าที่ไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ทันกับความต้องการขององค์กร ดังนั้น คุณสมบัติของใบบรรยายลักษณะงานในยุคปัจจุบัน จึงต้องมีความยืดหยุ่น พร้อมปรับเปลี่ยนตามได้รวดเร็ว มีความกระชับ แต่ยังคงประสิทธิภาพในการนำไปใช้งานได้เป็นอย่างดี

หัวข้อการฝึกอบรม

1. ความสำคัญและแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ในการจัดทำ JD (คำบรรยายลักษณะงาน) ภายในองค์กร

  • ความหมายและประโยชน์ของ JD

  • องค์ประกอบหลักของ JD

  • ใครควรเป็นผู้จัดทำ JD

  • ข้อจำกัดและแนวทางแก้ไขในการจัดทำ JD

2. ควมเชื่อมโยงและความสัมพันธ์ของยุทธศาสตร์องค์กร โครงสร้างการทำงาน และคำบรรยายลักษณะงาน กับกระบวนการจัดทำ JD เพื่อกำหนดบทบาทหน้าที่ของคนให้ทำงานสนับสนุนเป้าหมายขององค์กรร่วมกันเป็นหลัก

3. แนวทางการออกแบบโครงสร้างองค์กรและผังการบริหาร (Organization chart) ที่ถูกต้องเหมาะสมกับบริบทขององค์กร

4. เทคนิคการกำหนดบทบาทหน้าที่ (JD) เพื่อป้องกันปัญหา

    • งานซ้ำซ้อนระหว่างหัวหน้า-ลูกน้อง

    • JD ตำแหน่งผู้จัดการ เหมือนกับ JD ตำแหน่งของลูกน้อง (ผู้จัดการทำงานแบบเสมียน)

    • งานที่ควรจะทำ ไม่ใช่งานที่อยากจะทำ

    • งานซ้ำซ้อนกันระหว่างหน่วยงานเดียวกัน และต่างหน่วยงาน

    • ฯลฯ

5. เทคนิคและวิธีการวิเคราะห์งาน เพื่อให้ได้งานและคุณสมบัติของคนที่เหมาะสม จุดเริ่มต้นของกระบวนการเขียน JD

6. ทำไมต้องเป็น SMART JD และมีรูปแบบ มีองค์ประกอบอย่างไร ?

7. ขั้นตอนและวิธีการจัดทำใบบรรยายลักษณะงานภายใต้หลักการ SMART JD

    • การเขียนบรรยายในส่วนต่าง ๆ ของ SMART JD

    • ตัวอย่าง SMART JD

8. Workshop: ฝึกปฎิบัติการวิเคราะห์งานและการเขียน SMART JD

9. เทคนิคการวิเคราะห์ Competency จาก SMART JD เพื่อการฝึกอบรมพัฒนาพนักงาน

    • หลักการและแนวคิดของ Competency

    • ประเภทและความหมายของ Competency

    • ความสำคัญของ Competency แต่ละประเภท กับบุคลากรแต่ละระดับ

10. เทคนิคการวิเคราะห์และกำหนด KPI จาก SMART JD เพื่อการบริหารผลการปฏิบัติงานและกำหนดตัวชี้วัด

      • ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับตัวชี้วัดความสำเร็จ

      • คุณลักษณะและประเภทของตัวชี้วัด

      • การกำหนดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย

11. Workshop: ฝึกปฏิบัติการวิเคราะห์ Competency และ KPI จาก SMART JD

12. การนำ SMART JD ไปใช้ประโยชน์ในกระบวนการบริหารทรัพยากรบุคคล อาทิ

      • การประเมินผลการปฏิบัติงานด้วย KPI และ Competency

      • การสรรหาคัดเลือกพนักงาน

      • การฝึกอบรมพัฒนาพนักงาน

      • การประเมินค่างาน

      • ฯลฯ

ผู้เข้าฝึกอบรม

– หัวหน้างาน

– ผู้จัดการ

ระยะเวลาการฝึกอบรม:

1 วัน (6 ชั่วโมง)

จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม:เวลา:

30 คน

วิธีการฝึกอบรม: บรรยาย 40% กิจกรรมการเรียนรู้ 60%

– เป็นการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ (Adult Learning) โดยผู้เรียนต้องเรียนรู้ด้วยตัวเอง และนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในแนวทางของตัวเอง

– กิจกรรมการเรียนรู้

– การบรรยาย-สาธิต

– ระดมสมอง – เกมประกอบหลักสูตร – กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์

– การแสดงบทบาทสมมติ

– วิทยากรทำหน้าที่เพียงผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ (Facilitator) ทำให้การพัฒนาเป็นไปตามธรรมชาติของผู้เรียนรู้นั้น ๆ

วิธีการประเมินผล

– จากแบบสอบถามและการสังเกต

– จากการสุ่มตัวอย่างทดสอบและทบทวนกลับ

– จากข้อมูลที่ได้รับและการติดตาม วิเคราะห์ประเมินผลจากนามธรรมสู่รูปธรรมจนเกิดประสิทธิผลสูงสุด

ติดต่อสอบถาม

โทร.: 08 9177 1345 (พัชรี)

โทร.: 08 9448 8767 (วฤทธิ์)

อีเมล์: contact@gttc.co.th