การขับเคลื่อนความสำเร็จขององค์กรธุรกิจด้วยระบบ OKRI

ขับเคลื่อนองค์กรสู่ความสำเร็จอย่างยั่งยืนด้วยระบบ OKRI (OKR + KPI)

(Objectives and Key Results Performance Indicators for Achievement)

หลักการและเหตุผล

KPI (Key Performance Indicators) คือเครื่องมือที่หลาย ๆ องค์กรนิยมนำมาใช้ในการวัดผลสำเร็จเพื่อการประเมินผลงาน ส่วน OKR (Objectives and Key Results) เป็นเครื่องมือที่เริ่มนิยมใช้มากขึ้นในปัจจุบัน จะเริ่มต้นจากวัตถุประสงค์ที่ต้องการบรรลุก่อน และเน้นใช้ไปในทางพัฒนาองค์กร ดังนั้นหากนำเครื่องมือทั้งสองมาใช้ร่วมกัน ย่อมเกิดกระบวนการบริหารที่บูรณาทั้งทั้งด้านความสำเร็จและการพัฒนาไปพร้อมกัน จึงเกิดเป็นเครื่องมือใหม่ที่เรียกว่า OKRI (Objectives and Key Results Performance Indicators for Achievement) ที่จะทำให้องค์กรบรรลุความสำเร็จได้อย่างยั่งยืน

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้เข้าใจหลักการและความสำคัญในการบริหารงานเชิงกลยุทธ์

2. เพื่อเข้าใจขั้นตอนการจัดทำแผนงานอย่างบูรณาการ และสอดคล้องกันทั้งองค์กร

3. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ KPI และ OKR อย่างแท้จริง

4. เพื่อสามารถกำหนดวัตถุประสงค์และตัวชี้วัดผลงานที่เหมาะสมกับองค์กร/หน่วยงานของตนเองได้

5. เพื่อรู้ถึงแนวทางในการนำ OKRI มาใช้ในการบริหารผลการปฏิบัติงานและการพัฒนาร่วมกัน

หัวข้อการฝึกอบรม

1. แนวคิดและหลักการบริหารผลการปฏิบัติงานองค์กรสมัยใหม่

2. กระบวนการวางแผนเชิงกลยุทธ์องค์กรและแผนปฏิบัติการอย่างบูรณาการ

    • กลยุทธ์คืออะไร จำเป็นต่อองค์กรอย่างไร และแนวทางกำหนดกลยุทธ์แต่ละระดับ

    • เทคนิคการวิเคราะห์เพื่อทบทวน วิสัยทัศน์(Vision) , พันธกิจ(Mission), วัตถุประสงค์(Objective) จุดเริ่มต้นในการกำหนดทิศทางขององค์กรได้อย่างถูกต้อง

    • การแปลงวิสัยทัศน์(Vision) , พันธกิจ(Mission), วัตถุประสงค์(Objective) เป็นเป้าหมายและกลยุทธ์

    • องค์ประกอบ และเครื่องมือสำคัญในการกำหนดกลยุทธ์

    • เทคนิควิธีการกำหนดวัตถุประสงค์ขององค์กร กลยุทธ์ สู่แผนการปฏิบัติงานของหน่วยงาน ด้วยผังแผนที่เชิงกลยุทธ์ (Strategy Map)

    • เทคนิคการประยุกต์ใช้เครื่องมือ SWOT เพื่อกำหนดกลยุทธ์ในแต่ละระดับขององค์กร 

    Workshop: ฝึกปฏิบัติการวิเคราะห์ SWOT เพื่อกำหนดกลยุทธ์และเขียนผังแผนที่เชิงกลยุทธ์ (Strategy Map)

3. ภาพรวมและความเข้าใจที่ถูกต้องระหว่าง OKR (Objectives and Key Results) กับ KPI (Key Performance Indicators)

4. ความหมายและประโยชน์ของ OKR กับการบริหารจัดการ

    • หลักการกำหนด Objectives and Key Results แบบฉบับ OKR

    • ปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวกับการกำหนด OKR เช่น จำนวน Objectives, จำนวน Key Results เป็นต้น

    Workshop: การกำหนด Objective และ Key Results ให้สอดคล้องกับเป้าประสงค์ขององค์กร

5. แนวคิดและหลักการกำหนดเป้าหมาย และจัดทำดัชนีชี้วัด KPIs

    • ลักษณะและประเภทของตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย

    • ลักษณะของ KPI ที่ดี (SMART KPI) และเทคนิคการตั้งค่าเป้าหมาย การเลือกตัวชี้วัดที่เหมาะสม

    • เทคนิคการจัดทำ KPIs ให้เป็นธรรมและทำให้เกิดการยอมรับของพนักงาน

    Workshop: การกำหนด KPIs ตาม OKR ที่กำหนด

6. เมื่อบูรณาการ OKR กับ KPI รวมเป็น OKRI เครื่องมือใหม่ในการบริหารเพื่อมุ่งความสำเร็จขององค์กรอย่างยั่งยืน

    • กระบวนการจัดทำ OKRI ระดับองค์กร ให้สอดคล้องกับ Vision , Mission และเป้าหมายของธุรกิจ

    • กระบวนการวิเคราะห์และจัดทำ OKRI ของหน่วยงานและตามตำแหน่งหน้าที่หรืองานประจำ

    Workshop: การออกแบบและกำหนด OKRI ระดับฝ่ายงาน / หน่วย และตำแหน่งหน้าที่

7. กรณีศึกษา พร้อมไฟล์ตัวอย่าง สำหรับการจัดทำ OKRI เพื่อนำไปปรับใช้ในองค์กร

8. OKRI กับการประเมินผลงานประจำปีเพื่อปรับเงินเดือนและจ่ายโบนัส

9. ปัญหาและข้อควรระวังในการทำ OKRI

ผู้เข้าฝึกอบรม

– พนักงาน

– หัวหน้างาน

– ผู้จัดการ

ระยะเวลาการฝึกอบรม:

1 วัน (6 ชั่วโมง)

จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม:

30 คน

วิธีการฝึกอบรม: บรรยาย 40% กิจกรรมการเรียนรู้ 60%

– เป็นการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ (Adult Learning) โดยผู้เรียนต้องเรียนรู้ด้วยตัวเอง และนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในแนวทางของตัวเอง

– กิจกรรมการเรียนรู้

– การบรรยาย-สาธิต

– ระดมสมอง – เกมประกอบหลักสูตร – กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์

– การแสดงบทบาทสมมติ

– วิทยากรทำหน้าที่เพียงผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ (Facilitator) ทำให้การพัฒนาเป็นไปตามธรรมชาติของผู้เรียนรู้นั้น ๆ

วิธีการประเมินผล

– จากแบบสอบถามและการสังเกต

– จากการสุ่มตัวอย่างทดสอบและทบทวนกลับ

– จากข้อมูลที่ได้รับและการติดตาม วิเคราะห์ประเมินผลจากนามธรรมสู่รูปธรรมจนเกิดประสิทธิผลสูงสุด

ติดต่อสอบถาม

โทร.: 08 9177 1345 (พัชรี)

โทร.: 08 9448 8767 (วฤทธิ์)

อีเมล์: contact@gttc.co.th