การสื่อสารและการจัดการภาวะวิกฤต

การสื่อสารและการจัดการภาวะวิกฤต

(Communication and Crisis Management)

หลักการและเหตุผล

การเปลี่ยนแปลงกระแสโลกาภิวัตน์ในโลกและทางธุรกิจ ได้ก่อให้เกิดความหลากหลายเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงทางสภาพสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงทางสังคม และพฤติกรรมของผู้บริโภคก็ตาม นำมาซึ่งผลประโยชน์ที่แตกต่างกันในการติดต่อดำเนินธุรกิจ และบ่อยครั้งก็ก่อให้เกิดความขัดแย้งขึ้นได้อยู่เสมอ ความขัดแย้งต่าง ๆ เหล่านี้ได้พัฒนากลายเป็นประเด็นปัญหา (Issues) และลุกลามจนทำให้เกิดภาวะวิกฤต (Crisis) ในที่สุด

วัตถุประสงค์

พื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมเข้าใจหลักการและแนวคิดเรื่องการสื่อสาร เทคนิคการสื่อสารอย่างเป็นระบบ สามารถประยุกต์ใช้เครื่องมือ ขั้นตอนวิธีการการวางแผนการสื่อสาร รวมถึงการใช้กลยุทธ์การสื่อสารประชาสัมพันธ์ และการจัดการในภาวะวิกฤตอย่างเป็นขั้นตอนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการจัดการและการสื่อสารในภาวะวิกฤติทั้งภายในและภายนอกองค์กร

หัวข้อการฝึกอบรม

Module 1: Crisis Mindset & Communication

    • ที่มาและความสำคัญของภาวะวิกฤตกับองค์กร

   • กระบวนการและประสิทธิภาพของการสื่อสาร

   • เจาะลึกแนวทางวิเคราะห์การสื่อสารระหว่างบุคคล (Transactional Analysis: TA)

Module 2: Crisis Communication & Management

   • เจาะลึกขั้นตอนการจัดการภาวะวิกฤต

   • การวางแผนการสื่อสารในภาวะวิกฤต

   • การสื่อสารในภาวะวิกฤต

   • การประชาสัมพันธ์ในภาวะวิกฤต

Module 3: Crisis Communication Strategies

   • กลยุทธ์การสื่อสารประชาสัมพันธ์ในภาวะวิกฤต

   • Workshop: การจัดการและการสื่อสารในภาวะวิกฤต (กรณีศึกษา)

Module 4: Crisis Communication & Management in Practice

   • Workshop: การจัดการและการสื่อสารในภาวะวิกฤต (เชิงปฏิบัติ)

   • แสดงบทบาทสมมติ ร่วมแสดงความคิดเห็นระหว่างผู้เข้าอบรมและวิทยากร

ผู้เข้าฝึกอบรม

– พนักงาน

– หัวหน้างาน

– ผู้จัดการ

ระยะเวลาการฝึกอบรม:

1 วัน (6 ชั่วโมง)

จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม:

30 คน

วิธีการฝึกอบรม: บรรยาย 40% กิจกรรมการเรียนรู้ 60%

– เป็นการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ (Adult Learning) โดยผู้เรียนต้องเรียนรู้ด้วยตัวเอง และนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในแนวทางของตัวเอง

– กิจกรรมการเรียนรู้

– การบรรยาย-สาธิต

– ระดมสมอง – เกมประกอบหลักสูตร – กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์

– การแสดงบทบาทสมมติ

– วิทยากรทำหน้าที่เพียงผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ (Facilitator) ทำให้การพัฒนาเป็นไปตามธรรมชาติของผู้เรียนรู้นั้น ๆ

วิธีการประเมินผล

– จากแบบสอบถามและการสังเกต

– จากการสุ่มตัวอย่างทดสอบและทบทวนกลับ

– จากข้อมูลที่ได้รับและการติดตาม วิเคราะห์ประเมินผลจากนามธรรมสู่รูปธรรมจนเกิดประสิทธิผลสูงสุด

ติดต่อสอบถาม

โทร.: 08 9177 1345 (พัชรี)

โทร.: 08 9448 8767 (วฤทธิ์)

อีเมล์: contact@gttc.co.th