ทักษะการคิดสร้างสรรค์อย่างมีคุณค่าในเชิงนวัตกรรม

ทักษะการคิดสร้างสรรค์อย่างมีคุณค่าในเชิงนวัตกรรม

(Thinking Skill for Innovation)

หลักการและเหตุผล

การพัฒนาองค์กรเพื่อให้มีความยั่งยืนมั่นคงในการเติบโตอย่างต่อเนื่องได้นั้น มีความจำเป็นที่จะต้องมีการมุ่งเน้นการสร้างองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และนวัตกรรม ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่เปรียบเสมือนเป็นการเสริมสร้างทางการพัฒนาให้องค์กรมีบุคลากรที่มีทักษะทางการคิดและการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่อยู่เสมอ ดังนั้น การฝึกคนในองค์กรให้มีความคิดเชิงสร้างสรรค์และสรรหานวัตกรรมใหม่ ถือได้ว่าเป็นกุญแจไขไปสู่การปรับปรุงและพัฒนางานอย่างเป็นระบบถือเป็นกระบวนการที่สำคัญรองรับการพัฒนาองค์กรทั้งในปัจจุบันและอนาคต ซึ่งหลักสูตรนี้จะช่วยให้คุณได้ฝึกฝนทักษะต่าง ๆ เหล่านั้น โดยเน้นการฝึกคิดออกจากกรอบประสบการณ์เดิมและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้จริง ก่อให้เกิดผลงานและกระบวนการทำงานแนวใหม่ให้สามารถจัดการกับความคิดได้อย่างมีระบบ มีแบบแผนทำให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆที่มีประสิทธิภาพในทุก ๆ ด้านในที่สุด

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถคิดและสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ได้อย่างเป็นระบบ

2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำเทคนิคการคิดเชิงนวัตกรรม ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถสร้างทัศนคติที่ดีและปลูกจิตสำนึกในการคิดเชิงนวัตกรรมให้มีประสิทธิภาพต่อตนเองและองค์กรได้อย่างยั่งยืน

หัวข้อการฝึกอบรม

Module 1: Model & Thinking Skill Concept

    • ความหมายและแนวคิดที่สำคัญของการคิดเชิงนวัตกรรม

   • กระบวนทัศน์ในเชิงนวัตกรรมของแต่ละยุคธุรกิจ

   • โมเดลทักษะการค้นพบเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรม (5 ทักษะ)

      (ตั้งคำถาม, สำรวจ, เปิดมุมมอง, เชื่อมโยงความคิด และทดลอง)

   • พื้นฐานมิติความคิดที่จะต่อยอดไปสู่กรอบแนวคิดเชิงนวัตกรรม

   • Creative Thinking (ความคิดสร้างสรรค์)

   • Paradigm Concept & Shift (กรอบแนวความคิดและการเลื่อนกรอบ)

   • Workshop: Creative Thinking – Case

Module 2: Learning in Action – Part 1

   • เจาะลึกทักษะการค้นพบเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมทั้ง 5 ทักษะ

   • ทักษะที่ 1: ตั้งคำถาม –> การคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical Thinking)

   • แนวคิดและเทคนิคสำคัญในการคิดเชิงวิเคราะห์

   • เคล็ดลับการพัฒนาทักษะการตั้งคำถาม

   • Workshop: คิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical Thinking)

   • ทักษะที่ 2: สำรวจ –> การคิดรอบมุม (Inductive Thinking)

   • แนวคิดและเทคนิคสำคัญในการคิดรอบมุม (Spider Web)

   • เคล็ดลับการพัฒนาทักษะการสำรวจ

   • Workshop: คิดรอบมุม (Industry Roundabouts)

Module 3: Learning in Action – Part 2

   • ทักษะที่ 3: เปิดมุมมอง –> การคิดเชิงบวก (Positive Thinking)

   • คุณลักษณะและพฤติกรรมการตอบสนองแบบ Proactive

   • เคล็ดลับการพัฒนาทักษะการเปิดมุมมอง

   • Workshop: คิดมองบวกที่ซ่อนอยู่ในด้านลบ (Negative Review)

   • ทักษะที่ 4: เชื่อมโยงความคิด –> การคิดเชิงสังเคราะห์ (Synthetic Thinking)

   • แนวคิดและเทคนิคสำคัญในการคิดเชิงสังเคราะห์

   • เคล็ดลับการพัฒนาทักษะการเชื่อมโยงความคิด

   • Workshop: คิดเชิงสังเคราะห์สร้างสรรค์นวัตกรรม (Innovation)

Module 4: Learning in Action – Part 3

   • ทักษะที่ 5: ทดลอง –> การคิดเชิงวิพากย์ (Critical Thinking)

   • แนวคิดและเทคนิคสำคัญในการคิดเชิงวิพากย์

   • เคล็ดลับการพัฒนาทักษะการทดลอง

   • Workshop: คิดเชิงวิพากย์ (Critical Thinking)

   • สรุปทบทวนกระบวนการคิดเชิงนวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ในเชิงกลยุทธ์

   • ถาม-ตอบ

ผู้เข้าฝึกอบรม

– พนักงาน

– หัวหน้างาน

– ผู้จัดการ

ระยะเวลาการฝึกอบรม:

1 วัน (6 ชั่วโมง)

จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม:

30 คน

วิธีการฝึกอบรม: บรรยาย 40% กิจกรรมการเรียนรู้ 60%

– เป็นการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ (Adult Learning) โดยผู้เรียนต้องเรียนรู้ด้วยตัวเอง และนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในแนวทางของตัวเอง

– กิจกรรมการเรียนรู้

– การบรรยาย-สาธิต

– ระดมสมอง – เกมประกอบหลักสูตร – กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์

– การแสดงบทบาทสมมติ

– วิทยากรทำหน้าที่เพียงผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ (Facilitator) ทำให้การพัฒนาเป็นไปตามธรรมชาติของผู้เรียนรู้นั้น ๆ

วิธีการประเมินผล

– จากแบบสอบถามและการสังเกต

– จากการสุ่มตัวอย่างทดสอบและทบทวนกลับ

– จากข้อมูลที่ได้รับและการติดตาม วิเคราะห์ประเมินผลจากนามธรรมสู่รูปธรรมจนเกิดประสิทธิผลสูงสุด

ติดต่อสอบถาม

โทร.: 08 9177 1345 (พัชรี)

โทร.: 08 9448 8767 (วฤทธิ์)

อีเมล์: contact@gttc.co.th