เตรียมความพร้อมและแนวทางดำเนินการตาม พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ตรียมความพร้อม พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล-สำหรับหน่วยงานขาย

(Personal Data Protection Guideline – PDPA)

พร้อมตัวอย่างและเอกสารแบบฟอร์ม PDPA สำเร็จรูป

หลักการและเหตุผล

แนวปฏิบัติเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้การดำเนินการตามกฎหมายเป็นไปอย่างสมเหตุสมผลในทางปฏิบัติ ซึ่งกฎหมายโดยทั่วไปแล้วจะบัญญัติไว้เพียงในระดับที่กำหนด “การห้าม” เป็นหลักการไว้เท่านั้น แต่ในขั้นตอนปฏิบัติย่อมไม่สามารถระบุรายละเอียดวิธีการได้โดยสมบูรณ์ จึงมีคำถามเกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติว่าควรทำ “อย่างไร” เพื่อให้องค์กรสามารถดำเนินกิจการให้สอดคล้องกับ พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลได้

จากการที่พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ได้ขยายเวลาการบังคับใช้ออกไปเป็นวันที่ 1 มิถุนายน 2564 เพื่อให้หน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ได้มีเวลาเพิ่มขึ้นในเตรียมความพร้อมดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ดังนั้น จำเป็นจะต้องเตรียมความพร้อมเพื่อให้มีความเข้าใจและปฏิบัติให้ถูกต้องตามสิทธิ หน้าที่และความรับผิดชอบตามกรอบกฎหมายฉบับนี้ เพราะไม่เพียงแต่ส่งผลต่อการดำเนินกิจการขององค์กรเท่านั้น ยังส่งผลต่อการปฏิบัติของหน่วยงานงานต่าง ๆ (Business Functions) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง งานฝ่ายขายและการตลาด, งานด้านทรัพยากรบุคคล, งานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ, งานด้านจัดซื้อจัดจ้าง และอื่น ๆ อีกด้วย

วัตถุประสงค์

1. เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและสาระสำคัญของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

2. เพื่อสร้างความเข้าใจในกระบวนการเตรียมความพร้อมขององค์กร เพื่อให้สอดคล้องกับเงื่อนไขตามกฎหมาย อาทิ การให้ความยินยอม กระบวนการเพื่อรองรับการใช้สิทธิต่าง ๆ ของเจ้าของข้อมูล

3. สามารถจัดทำ แนวปฏิบัติเพื่อการประเมินความเสี่ยง/ผลกระทบด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ตามของเขต DPIA และ ทบทวน (Review) การปฏิบัติภายในองค์กร ว่ามีความเพียงพอหรือสอดคล้องตามกฎหมายแล้วหรือไม่

4. สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานของหน่วยงานฝ่ายขายและการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หัวข้อการฝึกอบรม

1. เหตุผลและความเป็นมาของ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562

2. สาระสำคัญของ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

    – ข้อมูลส่วนบุคคลคืออะไร และใครคือเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

    – ตัวบุคคลและบทบาทหน้าที่ของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Controller) ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processor) และเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (DPO)

    – สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล และการใช้สิทธิต่าง ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด

    – หลักการขอความยินยอม – การเก็บ – การใช้ – การเปิดเผย ข้อมูลส่วนบุคคล

    – ฐานในการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลได้โดยชอบด้วยกฎหมาย

    – ความรับผิดและบทลงโทษดตามกฎหมาย ทั้งทางแพ่ง – ทางอาญา – โทษทางปกครอง

3. ขั้นตอนการเตรียมความพร้อมกับ 10 ภารกิจที่องค์กรต้องทำก่อน PDPA บังคับใช้

4. การจัดเตรียมเอกสารและแบบฟอร์มต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับ PDPA อาทิ หนังสือให้ความยินยอมเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล (Consent From) เอกสารแจ้งข้อมูลการประมวลผลข้อมูล (Privacy Notice) ข้อตกลงประมวลผลข้อมูล (Data Processing Agreement) คำร้องขอใช้สิทธิต่าง ๆ ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Request Form) เป็นต้น

5. แนวการทบทวน (Review) การปฏิบัติภายในองค์กร ว่ามีความเพียงพอหรือสอดคล้องตามมาตรฐาน การจัดการเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล

6. แนวปฏิบัติการประเมินผลกระทบด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล PDIA (Data Protection Impact Assessment) และการวิเคราะห์ความเสี่ยง/มาตรการจัดการความเสี่ยง

7. การเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติของฝ่ายขายและการตลาด (Guideline for Marketing and Sales)

    – ความสัมพันธ์ของการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลและการทำการตลาด

    – ข้อมูลที่ใช้ในการระบุเป้าหมายการขาย (Provided, Observed and Inferred data)

    – ลักษณะของข้อมูลส่วนบุคคลตามเส้นทางการทำการตลาด

    – ฐานการประมวลผลที่เกี่ยวข้องและข้อควรระวัง

    – แนวการปฏิบัติสำหรับกลุ่มลูกค้าเดิมและกลุ่มลูกค้าใหม่

    – การทำการตลาดแบบตรง (Direct Marketing)

    – ระบบสมาชิกสะสมแต้ม (Loyalty Program)

    – การใช้ข้อมูลเครือข่ายสังคมเพื่อกระตุ้นยอดขาย (Social Network)

    – การโฆษณาตามพฤติกรรมออนไลน์ (Online Behavioral Advertisement)

8. ประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ด้านการขายและการตลาด อาทิ

    – การสมัครบริการแล้วขอบัตรประชาชนของลูกค้า ที่มีข้อมูลศาสนาอยู่ ถือเป็นการเก็บข้อมูลอ่อนไหวหรือไม่ แล้วต้องขอความยินยอมโดยชัดแจ้งหรือไม่

    – การบันทึก VDO ถือว่าเป็นข้อมูลส่วนบุคคลหรือไม่ ถ้าเป็นแล้วจะต้องทำอย่างไร

    – การกรอกข้อมูลส่วนตัวของลูกค้า จำเป็นต้องมี choice ให้เลือกหรือไม่ว่า อนุญาตหรือไม่อนุญาต เพื่อให้เปิดเผยข้อมูลกับ Third parties

    – ข้อมูลอ่อนไหว ที่จำเป็นต้องการปฏิบัติตามสัญญา หากต้องขอความยินยอม สามารถกำหนดให้เป็นเงื่อนไขของการเข้าทำสัญญาได้หรือไม่ เป็นต้น

9. Workshop / กิจกรรม

    – วิเคราะห์ความเสี่ยงต่อการละเมิดกฎหมายของกิจกรรมภายในหน่วยงาน

    – นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

    – เอกสาร/แบบฟอร์ม PDPA ที่เกี่ยวข้อง

ผู้เข้าฝึกอบรม

นายจ้าง หน่วยงานด้านการขายและการตลาด และเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้อง

ระยะเวลาการฝึกอบรม:

1 วัน (6 ชั่วโมง)

จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม:เวลา:

30 คน

วิธีการฝึกอบรม: บรรยาย 40% กิจกรรมการเรียนรู้ 60%

– เป็นการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ (Adult Learning) โดยผู้เรียนต้องเรียนรู้ด้วยตัวเอง และนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในแนวทางของตัวเอง

– กิจกรรมการเรียนรู้

– การบรรยาย-สาธิต

– ระดมสมอง – เกมประกอบหลักสูตร – กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์

– การแสดงบทบาทสมมติ

– วิทยากรทำหน้าที่เพียงผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ (Facilitator) ทำให้การพัฒนาเป็นไปตามธรรมชาติของผู้เรียนรู้นั้น ๆ

วิธีการประเมินผล

– จากแบบสอบถามและการสังเกต

– จากการสุ่มตัวอย่างทดสอบและทบทวนกลับ

– จากข้อมูลที่ได้รับและการติดตาม วิเคราะห์ประเมินผลจากนามธรรมสู่รูปธรรมจนเกิดประสิทธิผลสูงสุด

ติดต่อสอบถาม

โทร.: 08 9177 1345 (พัชรี)

โทร.: 08 9448 8767 (วฤทธิ์)

อีเมล์: contact@gttc.co.th