เตรียมความพร้อมและแนวทางดำเนินการตาม พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

เตรียมความพร้อมและแนวทางดำเนินงานตามพรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

(Personal Data Protection Act – PDPA)

หลักการและเหตุผล

จากการที่เทคโนโลยีดิจิทัลได้เข้ามามีบทบาทต่อชีวิตประจำวันและการดำเนินธุรกิจในเกือบทุกด้าน ส่งผลให้การเก็บข้อมูล การใช้ และการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลทำได้โดยง่าย และก่อเกิดประโยชน์แล้ว อีกด้านหนึ่งก็อาจสร้างความเดือดร้อนหรือความเสียหายได้ หากนำข้อมูลส่วนบุคคลไปแสวงหาประโยชน์ หรือเปิดเผยโดยไม่ได้รับความยินยอม ดังนั้น ประชาชนหรือ องค์กรต่าง ๆ จำเป็นจะต้องตระหนักรู้ และเตรียมความพร้อมเพื่อให้มีความเข้าใจและปฏิบัติให้ถูกต้องตามสิทธิ หน้าที่และความรับผิดชอบตามกรอบกฎหมาย ที่เรียกว่า พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 (Personal Data Protection Act B.E. 2562 (2019) หรือ PDPA)

วัตถุประสงค์

1. เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและสาระสำคัญของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

2. เพื่อสร้างความเข้าใจในกระบวนการเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการเพื่อให้สอดคล้องกับเงื่อนไขตามกฎหมาย อาทิ การให้ความยินยอม กระบวนการเพื่อรองรับการใช้สิทธิอื่น ๆ ของเจ้าของข้อมูล

3. เพื่อให้นายจ้าง ฝ่ายบุคคล และหัวหน้างาน ได้นำความรู้ไปประยุกต์ใช้บริหารทรัพยากรบุคคลในองค์กรให้สอดคล้องกับ พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลได้

หัวข้อการฝึกอบรม

1. เหตุผลและความเป็นมาของ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562

2. สาระสำคัญของ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562

    • ข้อมูลส่วนบุคคลคืออะไร และใครคือเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

   • ในองค์กรภาคธุรกิจ หน่วยงานใดเกี่ยวข้องกับ PDPA บ้าง

   • ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ผู้ประมวลลข้อมูลส่วนบุคคล คือใคร ?

   • บทบาทหน้าที่ของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Controller) ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Processor) และเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (DPO)

   • สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล มีอะไรบ้าง

   • โอกาส ความเสี่ยงของการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลขงองค์กรภาคธุรกิจที่ควรระมัดระวัง

   • หลักการขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

   • ความรับผิดตามกฎหมายกรณีเกิดการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล

3. ภาคปฏิบัติสำหรับนายจ้างและ HR

   • นายจ้างและฝ่าย HR มีส่วนเกี่ยวข้องกับกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอย่างไรบ้าง?

   • สิทธิของนายจ้าง เรียก-เก็บรักษา-ใช้ข้อมูลของพนักงานได้อย่างไร ?

4. การปรับเปลี่ยน ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน / แบบฟอร์มเอกสารที่ใช้ในการดำเนินงานด้าน HR

5. แบบให้ความยินยอมในการเก็บรวบรวม ใช้ เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวช้อง

   • ข้อมูลของพนักงานที่นายจ้างเรียกเก็บได้มีอะไรบ้าง

   • สัญญาจ้างที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงาน

   • นโยบาย / ระเบียบปฏิบัติการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงาน

   • การขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (ลูกจ้าง) จะต้องปฏิบัติอย่างไร?

   • การขอความยินยอมจากผู้สมัครงาน โดยชัดแจ้ง จะต้องปฏิบัติอย่างไร?

   • ฯลฯ

6. ประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กับการจ้างแรงงาน อาทิ

   • การสมัครงาน กรณีไม่รับผู้สมัครงานเข้าทำงาน จะต้องทำอย่างไร? กับข้อมูลที่ผู้สมัครงานได้แจ้งไว้

   • พนักงานขายลาออก และนำรายชื่อ เบอร์โทรศัพท์ของลูกค้าไปด้วย นายจ้างจะต้องทำอย่างไร?

   • พนักงานที่เปิดเผยค่าจ้างเงินเดือนของกันและกัน สามารถลงโทษตามกฎหมายฉบับนี้ได้หรือไม่?

7. ลูกจ้างลาป่วย ข้อมูลการป่วยของลูกจ้าง นายจ้างขอดูหลักฐานการป่วยได้หรือไม่?

8. บทลงโทษ ที่นายจ้างและ ฝ่าย HR ต้องรู้ (โทษทั้งจำ ทั้งปรับ)

ผู้เข้าฝึกอบรม

– พนักงาน

– หัวหน้างาน

– ผู้จัดการ

ระยะเวลาการฝึกอบรม:

1 วัน (6 ชั่วโมง)

จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม:เวลา:

30 คน

วิธีการฝึกอบรม: บรรยาย 40% กิจกรรมการเรียนรู้ 60%

– เป็นการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ (Adult Learning) โดยผู้เรียนต้องเรียนรู้ด้วยตัวเอง และนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในแนวทางของตัวเอง

– กิจกรรมการเรียนรู้

– การบรรยาย-สาธิต

– ระดมสมอง – เกมประกอบหลักสูตร – กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์

– การแสดงบทบาทสมมติ

– วิทยากรทำหน้าที่เพียงผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ (Facilitator) ทำให้การพัฒนาเป็นไปตามธรรมชาติของผู้เรียนรู้นั้น ๆ

วิธีการประเมินผล

– จากแบบสอบถามและการสังเกต

– จากการสุ่มตัวอย่างทดสอบและทบทวนกลับ

– จากข้อมูลที่ได้รับและการติดตาม วิเคราะห์ประเมินผลจากนามธรรมสู่รูปธรรมจนเกิดประสิทธิผลสูงสุด

ติดต่อสอบถาม

โทร.: 08 9177 1345 (พัชรี)

โทร.: 08 9448 8767 (วฤทธิ์)

อีเมล์: contact@gttc.co.th