เทคนิคการจัดทำโครงสร้างเงินเดือนและการบริหารค่าจ้าง

เทคนิคการจัดทำโครงสร้างเงินเดือน

(Salary structure designing)

หลักการและเหตุผล

• ถอดบทเรียนจากสภาวะวิกฤติโควิด เป็นเหตุให้หลาย ๆ องค์กรตระหนักถึงความจำเป็นที่ต้องมีโครงร้างเงินเดือน

• การกำหนดโครงสร้างค่าตอบแทนอย่างไรจึงจะ มีความเป็นธรรมภายใน แข่งขันกับภายนอกได้ และจูงใจคนได้

• หลักเกณฑ์และวิธีการในการปรับ ค่าจ้างเงินเดือน การขึ้นเงินเดือนให้สัมพันธ์กับโครงสร้างค่าจ้างขององค์กร

• ลดปัญหา ค่าจ้าง เงินเดือน “คนเก่า” กับ “คนใหม่” เพื่อสร้างประสิทธิผล และความยุติธรรม

หลักสูตรนี้มุ่งเน้นในการให้ความรู้และทักษะเพื่อให้ผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมสามารถบูรณาการแนวคิด เทคนิค และขั้นตอนการบริหารค่าตอบแทน สามารถออกแบบโครงสร้างค่าจ้างเงินเดือนที่เหมาะสมกับองค์กรได้ โดยเน้นการฝึกทักษะจากการปฏิบัติ รวมถึงให้ความรู้ เทคนิค ความเข้าใจในการบริหารระบบได้อย่างมีประสิทธิผล

หัวข้อการฝึกอบรม

1. โครงสร้างเงินเดือนคืออะไร? มีความสำคัญอย่างไร? ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์กร

2. แนวคิด และเทคนิคการออกแบบระบบบริหารค่าตอบแทน (Conceptual Design)

3. กลยุทธ์ด้านค่าตอบแทนมีอะไรบ้าง

4. การกำหนดนโยบายค่าตอบแทน (Remuneration Policy) และรูปแบบค่าตอบแทนในลักษณะต่างๆ

5. เทคนิคและขั้นตอนในการจัดทำโครงสร้างค่าจ้างเงินเดือน (Salary Structure) ภาคปฏิบัติ

    • การกำหนดโครงสร้างระดับตำแหน่งของบริษัท

    • การทำ Job Grade Correlation ระหว่างผลสำรวจค่าจ้าง กับ โครงสร้างตำแหน่งของบริษัท

    • กำหนดนโยบายระดับค่าจ้าง และสัดส่วนของค่าตอบแทน

    • ส่วนผสมค่าตอบแทน (Pay Mix) และการวิเคราะห์หาระดับเส้นค่าจ้างของตลาด (Pay Level)

    • การวิเคราะห์และออกแบบ Range Spread, Mid Point Progression Rate และ Overlap พร้อมสูตรคำนวณ

    • การกำหนดสายความก้าวหน้าในอาชีพ ให้สัมพันธ์กับโครงสร้างค่าตอบแทน

    • มีโครงสร้างเงินเดือนแล้ว เมื่อไหร่ควรปรับปรุงใหม่ หรือ จะอยู่ได้กี่ปี

6. เทคนิคการปรับเงินเดือนให้สัมพันธ์กับการบริหารโครงสร้างค่าจ้าง และลดปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น

    • การปรับเงินเดือนเมื่อมีการเลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่ง

    • การบริหารจัดการพนักงานที่อัตราเงินเดือน “ใกล้ตัน” หรือ เกินโครงสร้างเงินเดือน

    • การบริหารจัดการ “เงินเดือนต่ำ” กว่า กระบอกเงินเดือน

    • ปัญหาเงินเดือน “คนเก่า” และ “คนใหม่”

7. Workshop: ฝึกปฏิบัติเพื่อนำไปใช้จริง

    • การออกแบบโครงสร้างเงินเดือน (Step by Step) ด้วยโปรแกรม Excel

    • การปรับเงินเดือนกรณีเกิดผลกระทบจากโครงสร้างเงินเดือนใหม่หรือการปรับค่าแรงขั้นต่ำ

    • ฝึกการวิเคราะห์โครงสร้างเงินเดือน

    – Range Spread, MPP, Overlap, Compa-ratio, Compensation Mix ฯลฯ

ผู้เข้าฝึกอบรม

– หัวหน้างาน

– ผู้จัดการ

ระยะเวลาการฝึกอบรม:

1 วัน (6 ชั่วโมง)

จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม:เวลา:

30 คน

วิธีการฝึกอบรม: บรรยาย 40% กิจกรรมการเรียนรู้ 60%

– เป็นการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ (Adult Learning) โดยผู้เรียนต้องเรียนรู้ด้วยตัวเอง และนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในแนวทางของตัวเอง

– กิจกรรมการเรียนรู้

– การบรรยาย-สาธิต

– ระดมสมอง – เกมประกอบหลักสูตร – กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์

– การแสดงบทบาทสมมติ

– วิทยากรทำหน้าที่เพียงผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ (Facilitator) ทำให้การพัฒนาเป็นไปตามธรรมชาติของผู้เรียนรู้นั้น ๆ

วิธีการประเมินผล

– จากแบบสอบถามและการสังเกต

– จากการสุ่มตัวอย่างทดสอบและทบทวนกลับ

– จากข้อมูลที่ได้รับและการติดตาม วิเคราะห์ประเมินผลจากนามธรรมสู่รูปธรรมจนเกิดประสิทธิผลสูงสุด

ติดต่อสอบถาม

โทร.: 08 9177 1345 (พัชรี)

โทร.: 08 9448 8767 (วฤทธิ์)

อีเมล์: contact@gttc.co.th